วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เผย ๒บริษัทใหญ่ ยังไม่ปฏิบัติตามประกาศ อัตราขั้นสูง ๙๙ สตางค์ต่อนาที ขอให้กสทช. เร่งรัดคำสั่งทางปกครอง


วันนี้ (๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๖) คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมได้แถลงข่าวเรื่อง อัตราค่าบริการเสียง ๙๙ สตางค์ กับกรณี ๒ บริษัทโทรคมฯ ยังไม่ปฏิบัติตาม ประกาศ เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ ต่อบริษัทผู้มีอำนาจเหนือตลาด ๒ รายคือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด และ บมจ.โทเทิ่ลแอ็ดเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด ต้องปฏิบัติตามเป็นการทั่วไปตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๖ ซึ่งล่าสุด กทค. ได้มีมติสั่งให้ ดีแทค คืนค่าบริการให้แก่ผู้ใช้บริการรายหนึ่งที่ร้องเรียนมายัง กสทช.แล้วนั้น

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวจากข้อมูลสถิติสรุปเรื่องร้องเรียนกรณีคิดค่าบริการไม่เป็นไปตามอัตราขั้นสูงพบว่า ปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น ๑๖๕ เรื่อง คงเหลือเรื่องร้องเรียนที่ยังไม่ยุติจำนวน ๑๒๗ เรื่อง จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถพิจารณาได้ดังนี้คือ ๑) การที่บริษัทคิดค่าบริการตามรายการส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย  ที่มีทั้งในรูปแบบที่เป็นไปตามอัตราขั้นสูงค่าบริการเสียง เช่น แพ็คเกจ ๗๙๙ บาท โทรฟรี ๙๕๐ นาที เฉลี่ยคิดอัตราค่าบริการนาทีละ ๘๔ สตางค์ และแบบพบว่าเป็นแพ็คเกจที่คิดค่าบริการแบบไม่เป็นไปตามอัตราขั้นสูง เช่น แพ็คเกจ ๔๐๐ บาท โทรฟรี ๔๐๐ นาที เท่ากับคิดค่าบริการนาทีละ ๑ บาท  ๒) การคิดค่าบริการส่วนที่เกินจากรายการส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย เช่น  แพ็คเกจ ๒๐๐ บาท โทรฟรี ๒๐๐ นาที ส่วนที่เกินนาทีละ ๑.๕๐ บาท  หรือ แพ็คเกจ ๗๙๙ บาท โทรฟรี ๙๕๐ นาที ส่วนที่เกินนาทีละ ๑.๕๐ บาท  ซึ่งพบอยู่เป็นการทั่วไปแทบทุกโปรโมชั่น

“ผู้ร้องรายหนึ่ง สมัครแพ็คเกจ ๔๐๐ บาท โทรฟรี ๔๐๐ นาที ส่วนเกินนาทีละ ๑.๕๐ บาท ถูกบริษัทคิดค่าบริการส่วนเกินโปรโมชั่นรวม ๑๒๐๐ บาท ทั้งที่หากคิดค่าบริการตามอัตราขั้นสูงผู้ร้องต้องจ่ายเพียง ๘๐๐ บาทเท่านั้น จึงเห็นได้ว่ามีการคิดค่าบริการในส่วนที่เกินจากรายการส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่ายเกินกว่าอัตราขั้นสูงฯเป็นจำนวน ๕๑ สตางค์ต่อนาที ซึ่งทั้งสองบริษัทเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดมีผู้ใช้บริการรวมกันแล้วถึงร้อยละ ๗๐  ของประเทศ “ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมกล่าว

ดังนั้นที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม จึงเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมจากการคิดค่าบริการโทรคมนาคมตามประกาศ กสทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงฯ ของค่าบริการประเภทเสียง  ๑) กสทช. ควรมีคำสั่งปรับทางปกครองเพื่อให้ทั้งสองบริษัทปฏิบัติตามประกาศ อัตราขั้นสูง และแม้ว่าจะมีการอุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องยกเลิกคำสั่ง แต่ก็ยังไม่มีผลในการทุเลาบังคับทางปกครอง เพื่อมิให้ต้องเป็นภาระกับผู้บริโภคที่ต้องร้องเรียนเป็นรายกรณี   ๒)ขอให้กสทช.สั่งให้สำนักงาน กสทช. ใช้อำนาจตาม มาตรา ๖๑ พรบ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เพื่อให้ ทั้งสองบริษัทแสดงรายละเอียด คือ จำนวน และรายชื่อของผู้ใช้บริการที่ถูกคิดค่าบริการเกินกว่าอัตราขั้นสูงตามประกาศ กสทช.  , วัน เวลา ที่ผู้ใช้บริการแต่ละรายถูกคิดค่าบริการเกินกว่าอัตราขั้นสูง ตามประกาศ กสทช. , แนวทางการคืนเงินค่าบริการ พร้อมดอกเบี้ย เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ ๓) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ร้องเรียนมีสิทธิชำระค่าบริการเฉพาะส่วนที่เห็นว่าไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ได้ หากไม่พบว่าไม่เป็นการเรียกเก็บเกินอัตราก็ให้เรียกเก็บเงินต่อไป แต่หากพบว่า เป็นการเรียกเก็บเกิน ก็ต้องคืนเงินส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ใช้บริการ ๔) กสทช. ควรประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อให้ผู้ใช้บริการของทั้ง ๒ บริษัทได้รับทราบสิทธิในการใช้บริการนี้เป็นการทั่วไป
“ขณะที่มีผู้ใช้บริการของทั้งสองบริษัทมีจำนวนเป็น หลายสิบล้าน และเงินที่ผู้ให้บริการทั้งสองรายเรียกเก็บเกินไปจากผู้ใช้บริการก็เป็นจำนวนไม่น้อย กสทช. ควรเร่งประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้ผู้บริโภครับทราบ เพราะเชื่อว่า ยังมีผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ทราบ ทั้งที่ถูกคิดค่าบริการเกินมากกว่า ๙๙ สตางค์ต่อนาที  “ นางสาวสารีกล่าว

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเตือนผู้ให้บริการ๓จี มาตรฐานความเร็วในการส่งข้อมูลต้องไม่ต่ำกว่า ๓๔๕ เค



อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เผย
 
บริษัทยังทำผิดเงื่อนไขใบอนุญาต เหตุเพราะโปรโมชั่น
 
กำหนดค่าเอฟยูพี  ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ใน ประกาศ
 
กสทช. คือต้องไม่ต่ำกว่า ๓๔๕ กิโลบิตต่อวินาทีหลังพบ
 
แจ้งมาตรฐานความเร็วขั้นต่ำที่ผู้บริโภคได้รับตกลงเหลือเพียง๖๔
 
กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น พร้อมหนุน กสทช.
 
เร่งรัดบริษัทลดค่าบริการให้ได้ร้อยละ ๑๕
 
 (๒๐ พ.ค.๕๖)  ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
 
อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า
 
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีการหารือกันเกี่ยวกับบริกา
 
ร ๓จี ในหลายประเด็น ซึ่งที่ประชุมได้มีมติสนับสนุนการดำเนินการของ
 
กสทช กรณีเร่งรัดเพื่อให้เกิดการลดค่าบริการ ๓ จีลงร้อยละ ๑๕
 
ให้กับผู้บริโภค อย่างไรก็ตามที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ
 
ยังพบว่าผู้ให้บริการยังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบกิจการโทร
 
คมนาคมแบบที่ ๓
 
ในประเด็นคุณภาพการให้บริการและการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ซึ่งระบุว่า
 
ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการควบคุมคุณภาพบริการให้เป็นไปตามประกา
 
ศคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตามประกาศ กสทช. เรื่อง
 
มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครง
 
ข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบุว่า ความเร็วเฉลี่ยในการส่งข้อมูลของบริการ
 
๓จี ต้องไม่ต่ำกว่า ๓๔๕ กิโลบิตต่อวินาที
 
อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำกว่าที่กำหนดตามประกาศ กสทช.
 
มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโค
 
รงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือความเร็วในการดาวน์โหลดต้องไม่ต่ำกว่า
 
๓๔๕ กิโลบิตต่อวินาที และความเร็วในการอัปโหลดต้องไม่ต่ำกว่า ๑๕๓
 
กิโลบิตต่อวินาที แต่จากรายการส่งเสริมการขายใหม่เพื่อให้บริการ๓จี
 
“จากข้อมูลโปรโมชั่นของผู้ให้บริการพบว่า 
 
พบว่าได้กำหนดอัตรารับรองในการรับส่งข้อมูลขั้นต่ำนั้นต่ำลงกว่าเมื่อครั้งเ
 
ป็นบริการ ๒G  คือ อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลขั้นต่ำเหลือเพียง
 
๖๔,๑๒๘และ ๒๕๖ กิโลบิตต่อวินาที เท่านั้น”
 
อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกล่าว
 
ดร.เดือนเด่นกล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังเห็นว่า
 
ควรมีการกำหนดมินิมัมแพ็คเกจ
 
ที่เป็นมาตรฐานไว้และหากพบว่ามีการใช้บริการเกินกว่ามิติมัมแพ็คเกจ
 
ก็ควรมีการแจ้งเตือนกันผู้ใช้บริการ
 
เพื่อป้องกันปัญหาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
 
“ผู้ให้บริการควรมีการแจ้งเตือนเรื่องค่าใช้จ่ายการใช้บริการ
 
เช่นในต่างประเทศ
 
หากการใช้บริการของผู้ใช้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปแบบผันผวนเช่น
 
ใช้มากกว่าปกติไป ๒ ถึง ๓ เท่าตัว จะต้องแจ้งผู้ใช้บริการทราบ 
 
เพื่อเป็นกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคแบบอัตโนมัติ
 
ซึ่งสำหรับประเทศไทยพบว่า
 
มีบางบริษัทที่โทรสอบถามลูกค้าหากมีการใช้บริการที่มากผิดปกติ
 
ซึ่งควรทำให้เป็นมาตรฐานเป็นการทั่วไป “ ดร.เดือนเด่นกล่าว
 
นอกจากนี้ยังพบว่า  ผู้บริโภคที่ใช้บริการ
 
๓จีประสบปัญหาโดยรวมคือ กรณีโปรโมชั่นเดิม
 
หรือลูกค้ารายเดิมที่เคยใช้บริการ๓จีภายใต้โครงข่าย
 
๒จี นั้นพบว่า มีการลดค่าบริการให้จริง
 
แต่บริษัทมิได้แจ้งรายละเอียดสิทธิประโยชน์ให้ผู้ใช้บริการทราบ
 
เช่น  ลดค่าบริการให้ลูกค้าจาก ๖๙๙ บาทเหลือ ๔๙๙ บาท
 
แต่ไม่แจ้งสิทธิประโยชน์ให้ทราบ ,ลดค่าบริการให้จริงแต่ก็ลดสิทธิประโย
 
ชน์ลงด้วย เช่น เคยใช้บริการเสียงได้ ๔๐๐ นาทีถูกลดเหลือ ๓๐๐ นาที ,
 
หรือยังไม่ดำเนินการลดค่าบริการให้กับผู้ใช้บริการเลย
 
รวมถึงการไม่โอนย้ายเงินคงเหลือในระบบให้ใน
 
กรณีการโอนย้ายบริการจาก ๒ จีไป๓จี ของผู้ใช้บริการระบบเติมเงิน
 
หรือกรณีการโอนย้ายเครือข่ายแล้วไม่สามารถใช้บริการไม่ได้
 
เมื่อผู้ใช้บริการต้องการโอนย้ายไปผู้ให้บริการรายใหม่
 
แต่บริษัทไม่ดำเนินการให้โดยอ้างว่าต้องอยู่กับผู้ให้บริการรายเดิม
 
๙๐ วัน ซึ่งประกาศ กสทช.
 
ไม่เคยกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องกับอยู่ผู้ให้บริการรายเดิม ๙๐ วัน
 
แต่ผู้ใช้บริการสามารถโอนย้ายเครือข่ายเมื่อใดก็ได้ ,ปัญหา
 
ความครอบคลุมของพื้นที่ให้บริการ เช่นมีการประชาสัมพันธ์
 
แต่ไม่มีการให้บริการในพื้นที่นั้น  เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เสนอ กสทช. กำกับบริษัทมือถือ ออกเบสิคแพ็คเกจ


แฉหลังพบโปรโมชั่นมือถือมั่ว โปรหลักโปรเสริม แถมใช้เลห์บีบผู้บริโภคจ่ายแพงกว่าเดิม ๒ เท่า ด้วยแพ็คเกจเหมาจ่ายราคาสูงขึ้นแต่ไม่เกิน ๙๙ สตางค์ต่อนาที อนุกรรมการฯชี้ทางออกต้องมี เบสิคแพ็คเกจ คิดค่าโทรตรงไปตรงมา ตามประกาศอัตราขั้นสูงฯ

ดร.ไพบูลย์  ช่วงทอง อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมว่า การคิดค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงเพื่อให้เป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งบังคับใช้เฉพาะบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด ๒ รายคือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็ดเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น พบว่า ผู้บริโภคยังประสบปัญหาในการใช้บริการดังต่อไปนี้คือ

๑) ผู้บริโภคถูกบริษัทเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนโปรโมชั่น เนื่องจากบริษัทมิได้ปรับลดค่าบริการตามรายการส่งเสริมการขายต่างๆให้เป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่องอัตราขั้นสูงฯ พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการเสียค่าบริการในอัตราไม่เกิน ๙๙ สตางค์ ต่อนาที ต้องเลือกรายการส่งเสริมการขายที่บริษัทจัดไว้ให้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงรายการส่งเสริมการขาย 

๒) บริษัทฯ ยังคงเรียกเก็บค่าบริการเกิน ๙๙ สตางค์ เช่น คิดค่าโทรนอกเครือข่ายและนอกเวลาส่งเสริมการขาย ๑.๒๙ บาทต่อนาที โดยอ้างว่าเป็นการเรียกเก็บตามรายการส่งเสริมการขายเดิมจนกว่าระยะเวลาส่งเสริมการขายเดิมจะสิ้นสุด 

๓) บริษัทฯมีการกำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมการขายที่มีอัตราค่าบริการสูงขึ้น โดยไม่มีทางเลือกให้กับผู้บริโภค  เช่น กำหนดให้ต้องใช้ รายการ คุยสะใจ ค่าบริการขั้นต่ำรายเดือน ๓๕๐ บาท โทรทุกเครือข่าย ๓๖๐ นาที จากเดิมที่ผู้ร้องอาจใช้บริการเพียง ประมาณ ๒๐๐ บาทต่อเดือน

และ ๔) บริษัทมีการกำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมการขาย เช่น รายการโทรสะใจ อัตราค่าโทรคิดแบบเหมาจ่ายคือ ๒.๗๕ บาท โทรได้ ๓ นาที เฉลี่ยนาทีละ ๙๒ สตางค์ โทรเกิน ๓ นาทีคิดนาทีละ ๕๐ สตางค์ ทุกเครือข่ายตลอด ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งหากผู้ใช้บริการโทรเพียง ๑ นาทีก็ต้องจ่ายค่าบริการในราคาเหมาจ่ายคือ ๒.๗๕ บาท 

          “จนถึงขณะนี้เกือบครบ ๙๐ วันของการบังคับใช้ประกาศอัตราขั้นสูงแล้ว บริษัทยังไม่มีการดำเนินการปรับลดอัตราค่าบริการเสียงให้กับผู้บริโภคแบบอัตโนมัติ แต่อ้างรายการส่งเสริมการขายเดิม ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนประกาศ กสทช.  ทั้งยังเอาเปรียบโดยหากผู้ใช้บริการต้องการใช้รายการส่งเสริมการขายที่เป็นไปตามกฎหมายจะต้องเสียเงินค่าเปลี่ยนโปรโมชั่นเองทั้งที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย  นอกจากนี้บริษัทยังได้ออกรายการส่งเสริมการขายใหม่ที่ดูเหมือนจะเป็นไปตามกฎหมายแต่รายการส่งเสริมการขายดังกล่าวก็มีราคาสูงและเกินกว่าความจำเป็นของผู้บริโภคในการใช้บริการ เช่น กรณีที่ผู้ร้องใช้โทรศัพท์โทรไม่ถึง ๒๐๐ นาที แต่ถูกบังคับด้วยโปรโมชั่น เหมาจ่าย ๓๕๐ บาท โดยได้ ๓๖๐ นาที เท่ากับต้องจ่ายนาทีละ ๑.๗๕ บาท แม้บริษัทจะไม่ได้ทำผิดกฎหมายแต่ผู้ร้องต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อเดือนมากขึ้นจากเทคนิคของบริษัท “ดร.ไพบูลย์กล่าว

                อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมกล่าวต่อไปว่า  สิ่งที่ต้องพิจารณานอกจาก สำนักงาน กสทช.  ควรต้องเร่งดำเนินการบังคับใช้ประกาศฉบับนี้ให้เป็นจริงแล้ว ควรมีการกำหนดเงื่อนไขการคิดค่าบริการแบบ Basic package หรือการมีโปรหลัก โดยให้ผู้บริโภคได้เลือกจากพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการใช้งานของตน  ไม่มีสิทธิพิเศษเพิ่ม แต่ค่าบริการเรียกเก็บตามประกาศอัตราขั้นสูงฯ หรือเรียกเก็บตามที่ได้มีการใช้บริการจริง ขณะที่โปรโมชั่น หรือรายการส่งเสริมการขายคือสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถเลือกเพื่อไปเสริมการใช้งานทั่วไปของตน และส่วนใหญ่จะมีการกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิไม่นาน เช่น ๓๐ วัน หรือ ๑๒ รอบบิล ขณะที่โปรหลักจะไม่มีการกำหนดระยะเวลา

                “กสทช. ควรกำหนดนิยามของคำว่า รายการส่งเสริมการขาย และกำหนดเงื่อนไขการคิดค่าบริการให้ชัดเจน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอัตราค่าบริการ ไม่ควรนำเรื่อง Basic package มาปนกันมั่วกับส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย เพราะจะทำให้บริษัทสามารถหลีกเลี่ยงกฎหมายได้ กสทช. จึงต้องเข้าไปกำกับให้มีโปรหลัก และให้มีอัตราค่าบริการของ โปรหลักต่างๆไม่เกิน ๙๙ สตางค์ต่อนาที ส่วนรายการส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย ก็ต้องหมายถึงโปรเสริมซึ่งผู้บริโภคมีโอกาสเลือกได้ว่าจะจ่ายเพิ่มหรือไม่ ถ้าผู้บริโภคเลือกไม่จ่ายเพิ่ม ค่าบริการทุกนาทีของเขาก็จะต้องไม่เกิน ๙๙ สตางค์โดยผลของกฎหมาย” ดร.ไพบูลย์กล่าว\

                ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนม.ค.-มี.ค.56 มีเรื่องร้องเรียนกรณีเรื่องอัตราขั้นสูงค่าบริการเสียงจำนวน ๓๐๐ กว่าเรื่อง

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

อนุฯ คุ้มครองผู้บริโภค หวั่น 345 เรื่องโทรคมนาคมล่าช้า กระทบผู้บริโภค

ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ แย้ง กทค. ยันเรื่องร้องเรียน 345 เรื่อง ทำงานตามขั้นตอน ชี้เรื่องล่าช้าเกิดจากสำนักงาน กสทช.ดองเรื่องไม่เสนอบอร์ด กทค. หวั่นปัญหาตกผู้บริโภค...


นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวกับสำนักงาน กสทช. ในกรณีความขัดแย้งเรื่องร้องเรียนล่าช้า 345 เรื่อง และทำงานตามขั้นตอนตามประกาศทุกประการ ส่วนกรณีที่ระบุว่าคณะอนุกรรมการคุ้มครองฯ พิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยไม่เรียกคู่กรณีมาคุยกันนั้น ขอยืนยันว่าที่ผ่านมาในการพิจารณาทุกกรณีที่มีการร้องเรียนเข้ามา คณะอนุกรรมการคุ้มครองฯ ได้ทำงานอย่างโปร่งใส มีการส่งหนังสือแจ้งคู่กรณีไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง

ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. กล่าวต่อว่า ขณะนี้ไม่ทราบว่าสาเหตุที่สำนักงานยังไม่ส่งเรื่องให้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณาเรื่องร้องเรียน 345 เรื่องนั้น มีสาเหตุมาจากอะไร ซึ่งการทำงานที่ล่าช้าผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ ผู้บริโภค เพราะในขณะที่มีการร้องเรียนเข้ามา ผู้บริโภคนั้นได้ถูกตัดการบริการ โดยสิ่งที่ กทค.ต้องทำเร่งด่วน คือ ต้องออกมาชี้ให้ชัดเจนตามประกาศเดิมของ กทช.ว่า ผู้ประกอบการต้องเปิดให้บริการชั่วคราวแก่ผู้บริโภคก่อน จนกว่าข้อร้องเรียนนั้นจะยุติ แต่ที่ผ่านมาไม่มีผู้ประกอบการรายใดเปิดให้บริการแก่ผู้บริโภคเลย

“เรื่องที่บอกว่าคณะอนุฯ ไม่มีการเรียกคู่กรณีมาคุยกันนั้น ไม่จริง เราได้ทำจดหมายไปยังคู่กรณีอย่างน้อย 2 ครั้ง ทุกราย เพราะฉะนั้นสำนักงาน กสทช.ให้โอกาสบริษัทมากกว่าให้โอกาสผู้บริโภค ซึ่งยืนยันว่าไม่ได้มีปัญหาขั้นตอนปฏิบัติทางปกครองใดๆ เลย โดยเรื่องร้องเรียน 345 เรื่องที่เข้ามา ขั้นตอนแรกให้โอกาส 15 วัน ขั้นตอนที่ 2 ให้โอกาสอีก 7 วัน เป็นการให้โอกาสในการชี้แจง 2 ครั้ง ซึ่งบางเรื่องใน 345 เรื่องเป็นเรื่องร้องเรียนที่เกิดขึ้นมาเป็นปีแล้ว ซึ่งเกิน 30 วัน ซึ่งหลายเรื่องเป็นเรื่องที่มีกรณีการร้องเรียนและตรวจสอบแล้วเข้าข่ายเดียวกัน และขอยืนยันว่าคู่กรณีนั้นเห็นจดหมายแจ้ง 2 ครั้งแน่นอน” นางสาวสารี กล่าว

อ้างอิง http://www.thairath.co.th/content/tech/333013