วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กสทช. เร่งสางปัญหาดาวเทียมไอพีสตาร์ของไทยคม ตั้งทีมตรวจข้อกฎหมาย หาแนวทางออกใบอนุญาตใน 30 วัน

ตื่นแล้ว! สำนักงาน กสทช. ตั้งคณะทำงานศึกษาการประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารไอพีสตาร์ ของบริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) กำหนดหาคำตอบแนวทางการอนุญาตประกอบกิจการใน 30 วัน สังคายนาปัญหาการเป็นดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทาน
​รายงานข่าวจากสำนักงาน กสทช. แจ้งว่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เลขาธิการ กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับกรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ (IP STAR) ของบริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสถานะของการประกอบกิจการที่ชัดเจน โดยจะพิจารณาทั้งในส่วนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่จะต้องดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการ เนื่องจากตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 กำหนดไว้ชัดเจนว่า กิจการโทรคมนาคมนั้นรวมถึงกิจการซึ่งให้บริการดาวเทียมสื่อสารด้วย ทำให้การให้บริการดาวเทียมสื่อสารในปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ซึ่งจะต้องมีการขออนุญาตประกอบกิจการ

​รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า การดำเนินการดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. เกิดขึ้นภายหลังจากที่นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน กสทช. และประธาน กสทช. แจ้งถึงกรณีปัญหาของเรื่องนี้ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยมีคำพิพากษาชี้ว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมที่อยู่นอกสัญญาสัมปทาน โดยไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 และไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารภายในประเทศตามวัตถุประสงค์ของสัญญาสัมปทาน ดังนั้นจึงเห็นควรมีการเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยมีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาก็คือ การให้บริการในปัจจุบันของไอพีสตาร์ที่ใช้วงโคจรของประเทศไทยถือเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายหรือไม่ และ กสทช. จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้บริษัทได้หรือไม่

​ทั้งนี้ ตามหนังสือของ กสทช. ประวิทย์ ระบุว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตัดสินกรณีดังกล่าวในคดีที่อัยการสูงสุดกล่าวหาพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และพวก ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 แต่ปรากฏว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน โดยใช้วงโคจรที่ 119.5 องศาตะวันออก และไม่เคยมีการยื่นขออนุญาตเข้ามาแต่อย่างใด

​กรณีนี้จึงเป็นอีกกรณีสำคัญที่จะต้องจับตาดูกันต่อไปว่า กสทช. จะตัดสินใจในแนวทางใดเพื่อแก้ปัญหาการให้บริการของไอพีสตาร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการพิจารณาในราวปลายเดือนมีนาคม เนื่องจากตามคำสั่งของเลขาธิการ กสทช. กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานของคณะทำงานไว้ 30 วัน

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประธาน สารี อ๋องสมหวัง แจงไม่ใช้ความขัดแย้งส่วนตัว แต่ต้องทำงานการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฯ แจงไม่มีความขัดแย้งส่วนตัว
แต่ต้องการเห็นประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

​“สารี” แจงเลขาธิการกสทช.และกทค.รู้ดี ว่า รท.ไม่สนับสนุนอนุกรรมการ ฯ แต่ยังไม่ดำเนินการใด ๆ ตั้งแต่กรกฎาคม ๒๕๕๕ พร้อมแจงไม่ใช่ความขัดแย้งเรื่องส่วนตัวหรือเกาเหลา แต่ต้องการให้ ผู้บริโภคที่ร้องเรียน ๓๔๕ เรื่องได้รับการคุ้มครอง และเกิดการแก้ปัญหาระดับนโยบายเช่น กรณีพรีเพด หวังว่า กทค.เร่งออกมติเยียวยาความเสียหายให้เปิดสัญญาณชั่วคราวกับผู้ร้องเรียน หากล่าช้าจะทำให้ผู้ร้องถูกตัดสัญญาณ ถูกยึดเงินและถูกยึดเบอร์ในที่สุด ​

​กรณีที่มีการอ้างแหล่งข่าวใน กสทช. ระบุว่าขณะนี้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารงานรับเรื่องร้องเรียนและประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม จนทำให้เลขาธิการนายฐากร แถลงข่าว ว่า กรณีข่าวดังกล่าว เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการรับเรื่องร้องเรียน และการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมของ กสทช. ตนเองจึงได้มีหนังสือให้นายพิชัย สุวรรณกิจบริหาร รักษาการผู้อำนวยการ กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมดมาที่ตนโดยด่วน และในขั้นตอนต่อไปหลังจากได้รับรายละเอียดข้อเท็จจริง ก็จะส่งให้ทางอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมเพื่อทราบรายละเอียดข้อเท็จจริงดังกล่าว และจะได้รวบรวมประเด็นข้อมูลเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อพิจารณาให้ได้ข้อสรุปต่อไป
​นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวใดๆ กับผู้บริหารงานกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม (รท) แต่เป็นปัญหาอันเนื่องมาจากการทำงานที่ล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการ ฯ ซึ่งเป็นปัญหากับอนุกรรมการ ฯ มานานและเลขาธิการกสทช. และกทค. ทราบดี เพราะอนุกรรมการ ฯ เคยไปพบหารือและเล่าเหตุการณ์ให้รับทราบมาโดยตลอด ตั้งแต่กรกฎาคม ๒๕๕๕ แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ และเลขาธิการเคยรับปากจะแก้ไขปัญหาให้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองผู้บริโภค อาทิเช่น
กรณีเรื่องร้องเรียนของอบต.หนองแสง และชาวบ้านจำนวน ๖๓ ราย ในพื้นที่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ร้องเรียนคัดค้านการติดตั้งสถานีฐานรับส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากบริษัท ไม่ได้ทำตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพ อนามัย ของประชาชน เพราะบริเวณที่ตั้งเสาอยู่ใกล้กับโรงเรียนวาปีปทุม และบริษัทมิได้ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ จึงขอให้ยกเลิกการให้อนุญาตติดตั้งสถานีฐานในพื้นที่ดังกล่าว ได้พบประเด็นที่ไม่สมควรปฏิบัติเกิดขึ้น คือ การสั่งยุติเรื่องร้องเรียนอย่างผิดปกติของ อรท. ทั้งที่กรณีนี้มีผู้ร้องเรียนจำนวนมาก และเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในพื้นที่ ทั้งที่จากผลการตรวจสอบพบว่า บริษัทฯ ยังไม่ได้รับอนุญาตให้มีการติดตั้งสถานีฯ และต่อมาเมื่อเรื่องอยู่ระหว่างการร้องเรียน กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนฯ ก็ได้รับหนังสือจากบุคคลอื่น เพื่อขอยกเลิกการแจ้งเรื่องร้องเรียนนี้ ทั้งที่หนังสือฉบับดังกล่าวได้ส่งถึง นายก อบต.หนองแสงมิใช่ส่งถึง สำนักงาน กสทช. และก็มิใช่ผู้ร้องเรียนเรื่องดังกล่าวในครั้งแรก อีกทั้งต่อมาได้มีการแจ้งผลการดำเนินการไปยังผู้ร้องว่าบริษัทไม่ได้รับอนุญาตในการติดตั้งสถานีฐานลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ แต่กลับใช้จดหมายของผู้คัดค้านลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ แจ้งบริษัทสรุปว่าเรื่องร้องเรียนยุติแล้ว ถือเป็นการยุติเรื่องร้องเรียนโดยไม่ชอบ ขัดต่อกฎหมาย เนื่องจากเป็นการอ้างอิงจากหนังสือของบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ร้องเรียน เมื่อผู้ร้องเรียนที่แท้จริงทราบเรื่อง จึงได้ดำเนินการคัดค้าน แต่ รท. กลับเปิดเป็นเรื่องร้องเรียนใหม่ทำให้ล่าช้า และเป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการได้ ทั้งที่เรื่องยังอยู่ระหว่างการร้องเรียน กรณีนี้ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหารงานกลุ่มรท. ด้วยกระบวนการที่ไม่ชอบ ล่าช้าผิดปกติ เป็นเหตุให้ผู้ร้องเรียนเสียหายทำให้บริษัทดำเนินการขออนุญาตในการติดตั้งสถานีฐานในพื้นที่ดังกล่าว
กรณีข้างต้น อนุกรรมการฯได้มีมติให้ไปจัดประชุมในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาเรื่องเสาสัญญาณที่อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนโดยอ้างว่า ไม่มีงบประมาณในการจัดประชุมเพื่อแก้ปัญหา แต่กลับมีการใช้งบประมาณของ รท. ในการไปดูงานต่างประเทศหลายครั้งในปีที่ผ่านมา ทั้งที่การไปดูงานนั้นไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจนแต่ประการใด เรื่องนี้อนุกรรมการ ฯ ทุกคนทราบดีว่าที่ผ่านมาสำนักงานรท.ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการฯแทบจะไม่ได้เข้าประชุมร่วมกับอนุกรรมการ ฯ เลยไม่มีการลาเป็นลายลักษณ์อักษร หายไปเฉยๆ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่กลับอ้างว่าอนุกรรมการฯไม่ใช่ผู้บริหารสำนักงาน ไม่ต้องปฏิบัติตาม ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ร้องเรียน กลไกและระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
หรือแม้แต่เรื่องประสานงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคก็ยังขาดประสิทธิภาพ เช่น การจัดส่งหนังสือจากสำนักงานเพื่อขอความร่วมมือกระทรวงไอซีทีให้มีการดำเนินการจัดการปัญหาเรื่องตู้เติมเงินโทรศัพท์ ก็พบว่า ใช้เวลาร่างหนังสือและจัดส่งหนังสือนานถึง ๖ เดือน เป็นต้น
​“ความล่าช้า ขาดประสิทธิภาพ ไม่คุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่ไปรษณีย์ทั้งที่มีกฎหมายและประกาศมากมาย และอาจจะเข้าข่ายไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานของผู้บริหารงานร้องเรียนนี้ อนุกรรมการฯ ทุกท่านทราบเป็นอย่างดี และได้แก้ปัญหาการทำงานของอนุกรรมการฯ โดยใช้การสื่อสารปัญหาร้องเรียนของผู้บริโภคต่อสาธารณะทุกครั้งที่มีการประชุม เพื่อให้ผู้บริโภคเท่าทันและจัดการปัญหาของตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น การแถลงข่าวเรื่องพรีเพด ซิมฟรี เป็นต้น
ที่ผ่านมาอนุกรรมการฯได้ทำบันทึกถึงเลขาธิการ และกทค. เป็นทางการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ เรื่องที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องเกาเหลาแต่เป็นเรื่องการไม่สนับสนุนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นปัญหาประสิทธิภาพในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคของสำนักงานในกิจการโทรคมนาคม และไม่ได้เป็นปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวแต่ประการใดหากจะเป็นเรื่องขัดแย้งก็เพราะเขาไม่ทำงานในหน้าที่ ไม่ให้ความใส่ใจกับการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว” นางสาวสารีกล่าว
​นางสาวสารี กล่าวด้วยว่า ในเรื่องการจัดการเรื่องร้องเรียนนั้น เมื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานของกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กับด้านโทรคมนาคมแล้ว จะเห็นว่าในช่วงปี ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ สามารถแก้ปัญหาได้สูงถึง ๘๒ เปอร์เซ็นต์ภายใน ๓๐ วัน ทั้งที่เป็นกลุ่มงานที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับงานกิจการด้านการกระจายเสียงฯ ขณะที่การจัดการเรื่องร้องเรียนด้านกิจการโทรคมนาคมมีผลดำเนินการตรงกันข้าม ทั้งที่มีกฎหมายในการใช้กำกับที่สมบูรณ์กว่า ซึ่งสะท้อนประสิทธิภาพของกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคมอย่างชัดเจน
​ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกล่าวต่อไปว่า กรณีเรื่องร้องเรียนจำนวน ๓๔๕ เรื่องซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ - มกราคม ๒๕๕๖ พบว่า เรื่องร้องเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องเรียนประเด็นเดิมและเป็นเรื่องที่มีการกระทำผิดกฎหมายชัดเจน เช่น การกำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า (พรีเพด) ซึ่งเป็นกรณีร้องเรียนที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่า บริษัทมีการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการ ตัดสัญญาณโทรศัพท์ผู้ร้อง แถมยังยึดเงินในระบบและยึดเลขหมายโทรศัพท์ไปด้วย ซึ่งในจำนวนเรื่องร้องเรียนเหล่านี้มีเกือบ ๓๐๐ เรื่องที่เป็นเรื่องเร่งด่วนและหาก รท. ไม่เร่งดำเนินการแก้ไขก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ร้อง เช่น ผู้ร้องอาจถูกตัดสัญญาณหมายเลขโทรศัพท์ หรือถูกยึดเลขหมายโทรศัพท์ไป ดังนั้น อนุกรรมการฯ จึงได้รวบรวมเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีพรีเพดทั้งหมดเสนอให้ กทค. พิจารณา เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ร้องเรียน เพื่อขอให้ กทค. มีคำสั่งให้เยียวยาความเสียหายให้กับผู้ร้อง โดยให้บริษัทเปิดสัญญาณให้ผู้ร้องสามารถใช้บริการได้ตามปกติ จนกว่าเรื่องร้องเรียนจะได้รับการแก้ไขปัญหา
​“คณะอนุกรรมการฯต้องการขอให้มีการเร่งนำเรื่องขึ้นพิจารณาเพื่อเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ร้องเรียนก่อนโดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณการใช้บริการ มิฉะนั้นผู้ร้องจะถูกบริษัทตัดสัญญาณได้ ซึ่งกทค. ควรมีมติ เช่น ที่ประชุม กทช. เคยมีไว้เมื่อการประชุม ครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๒ ที่มีมติเห็นชอบเป็นหลักการให้ถือเป็นแนวปฏิบัติต่อจากนี้ไปว่า หากเรื่องร้องเรียนได้เข้าสู่กระบวนการร้องเรียนตามประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการแล้ว ให้ผู้ให้บริการเปิดสัญญาณโทรศัพท์ให้แก่ผู้รับบริการ เพื่อเยียวยาความเสียหายเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ข้อยุติในเรื่องร้องเรียนนั้น ส่วนปัญหาความขัดแย้งกับผู้บริหารบางคนในกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน หากจะมีก็เป็นเรื่องงาน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว “ นางสาวสารีกล่าว
ส่วนประเด็นที่มีการกล่าวว่าคณะอนุกรรมการฯเร่งพิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยไม่ได้สอบข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน ทั้งจากผู้บริโภคและผู้ประกอบการ นางสาวสารีกล่าวว่า กระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนนั้นกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน ดังนั้น เมื่อมีการนำเรื่องร้องเรียนเสนอให้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ จึงต้องมีการเร่งพิจารณาเพื่อให้สำนักงาน กสทช. ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของ กทค. โดยเร็ว และตามขั้นตอนการทำงานนั้น สำนักงานฯ ได้ทำเรื่องแจ้งให้บริษัทที่ถูกร้องเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงเข้ามาถึง ๒ ครั้ง โดยครั้งแรกจะให้เวลาบริษัทในการสืบค้นข้อมูล ๑๕ วันทำการ หากยังไม่มีการชี้แจงเข้ามาจะส่งหนังสือทวงถามในครั้งที่ ๒ โดยให้เวลาอีก ๗ วันทำการ
​“เมื่อเทียบกับกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนที่กฎหมายกำหนดไว้ที่ ๓๐ วัน จำนวน ๒๔ วันทำการที่ให้เวลาแก่บริษัทชี้แจงก็ถือว่าสมเหตุสมผลแล้วและน่าจะเพียงพอต่อการสืบค้นข้อมูลของบริษัทเนื่องจากบริษัทเป็นผู้กุมข้อมูลทั้งหมดไว้ และการจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีเงื่อนเวลาเป็นตัวกำหนดเช่นนี้หากไม่เร่งดำเนินการ สำนักงานฯ ก็อาจโดนผู้ร้องกล่าวหาเรื่องการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ มาตรา ๑๕๗ ในประมวลกฎหมายอาญาได้”
​เรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค ที่เข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมนั้น ได้ดำเนินการตาม ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ และกฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง โดยทุกเรื่องจะมีการแจ้งให้บริษัทที่ถูกร้องเรียนทราบถึงปัญหาที่เป็นเหตุของการร้องเรียน คำขอที่ผู้ร้องเรียนต้องการให้บริษัทดำเนินการแก้ไข และกำหนดระยะเวลาที่ขอให้บริษัทชี้แจง รายงานผลภายใน ๑๕ วัน ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายปกครอง ที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสโต้แย้ง แสดงพยานหลักฐานของตนได้ และหากบริษัทยังเพิกเฉยไม่ชี้แจง ดำเนินการ ก็จะมีหนังสือติดตามทวงถาม พร้อมกับให้เวลาอีก ๗ วัน หากบริษัทยังคงนิ่งเฉยไม่ชี้แจงอีก ก็จำเป็นจะต้องดำเนินการตามกฎหมายเรื่องกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่อไป นั่นก็คือ การเสนอเรื่องเป็นวาระให้ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม พิจารณาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนของ กทค. ต่อไป เนื่องจาก กฎหมายได้กำหนดระยะเวลาให้ กทค.ต้องพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่สำนักงาน กสทช. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค หากดำเนินการล่าช้า กทค. เลขาธิการ กสทช. หรือพนักงานของสำนักงาน กสทช. ที่ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็จะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียน ตามพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๓๐
​เรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ซึ่ง คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นไปแล้ว หลายกรณี เป็นเรื่องที่มีผลกระทบโดยตรงต่อ ผู้ร้องเรียน เช่น การยกเลิกบริการ หรือ ระงับบริการในระหว่างที่มีเรื่องร้องเรียน ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า กทค. ควรสั่งให้บริษัทดำเนินการเปิดสัญญาณให้ผู้ร้องเรียนสามารถใช้บริการได้ตามปกติ จนกว่าเรื่องร้องเรียนจะได้รับการพิจารณาแล้วเสร็จ เพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียนเป็นการชั่วคราว แทนที่ผู้บริหารกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน จะรีบดำเนินการส่งต่อเรื่องให้ กทค.พิจารณาวินิจฉัย เพื่อให้ผู้ร้องเรียนได้รับการเยียวยาโดยเร็ว กลับดึง หรือดองเรื่องร้องเรียนไว้ไม่ดำเนินการต่อ ดังนั้น หากผู้ร้องเรียนรายใด ได้รับความเสียหายจากการดำเนินการล่าช้า ก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสำนักงาน กสทช. ได้ตามกฎหมาย

​ส่วนเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่ามีการเร่งทำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาเพื่อต้องการสร้างความเสียหายให้กับ กทค.นั้น ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ เผยว่า ตั้งแต่เดือนม.ค.๕๕-ต.ค.๕๕ มีเรื่องร้องเรียนเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ น้อยมาก จำนวนไม่ถึง ๑๐ เรื่อง จนถูกผู้ร้องร้องเรียนไปถึง กสทช. เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหานั้นขาดประสิทธิภาพ จึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนทีมงานใหม่เข้ามารับผิดชอบในการจัดการเรื่องร้องเรียนในช่วงปลายปี ๒๕๕๕ จนถึง ก.พ. ๒๕๕๖ ที่มีทีมงานใหม่เข้ามาทำเรื่องร้องเรียน มีเรื่องเข้าสู่การพิจาณาของอนุกรรมการฯ ๓๔๕ เรื่อง แต่พบว่า เรื่องที่อนุกรรมการฯ เร่งพิจารณาเหล่านั้นกลับไม่ถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของ กทค. เลย เนื่องจากผู้บริหารของงานร้องเรียนไม่ยอมลงนามในบันทึกเสนอเรื่องให้ที่ประชุม กทค. พิจารณา นางสาวสารีกล่าว​

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผู้บริโภคพรีเพดถูกบริษัทมั่วนิ่มหักค่าบริการเสริมโดยไม่ได้สมัครใช้มานาน ๕ ปี ร้องเรียน กสทช. ช่วยเหลือขอเงินคืน ประธานอนุกรรมการฯห่วงผู้บริโภครายอื่นแนะควรตรวจสอบการสมัครบริการเสิรมกับเครือข่าย เพื่อยกเลิกบริการและขอเงินคืน เสนอ กสทช. ถือเป็นพฤติกรรมเข้าข่าย ม.๓๑ เอาเปรียบผู้บริโภค ที่ควรดำเนินการอย่างจริงจัง พร้อมเสนอ


นางสาวสารี อ๋องสมหวัง  ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ยังได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนกรณีที่ถูกคิดค่าบริการเสริมรับข้อมูลประเภทข่าว ดูดวงผ่านข้อความสั้น (SMS) โดยที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ โดยมีผู้ร้องเรียนรายหนึ่งใช้บริการโทรศัพท์ระบบเติมเงินระบุว่า ถูกคิดค่าบริการเสริมจากข้อความ เอ็มเอ็มเอสมากว่า ๕ ปีแล้ว โดยที่ไม่เคยสมัครใช้บริการ เหตุที่ทราบเพราะผู้ร้องตรวจสอบกับศูนย์บริการจากนั้นจึงขอยกเลิกและขอเงินคืน โดยบริษัทแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่า มีการสมัครรายการเสริมนี้มาตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๐ ซึ่งเท่ากับผู้ร้องถูกหักค่าบริการโดยไม่รู้ตัวมากว่า ๕ ปี ทั้งที่ไม่เคยสมัครและใช้ไม่เป็น

            “ การใช้บริการโทรศัพท์ประเภทเติมเงินมีจุดอ่อนตรงที่ผู้ใช้จะไม่ทราบรายละเอียดการหักค่าบริการของบริษัท เนื่องจากไม่มีใบแจ้งหนี้ เมื่อมีการส่งเอ็มเอ็มเอสมาก็คิดว่าเป็นสแปมธรรมดา ทั้งที่ถูกคิดค่าบริการมาตลอด ๕ ปี ขณะนี้ผู้ร้องบางรายเห็นวิธีการหาเงินเช่นนี้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนซึ่งเดือดร้อนกับภาวะเศรษฐกิจอยู่แล้ว กลับต้องมาเสียเปรียบในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงินอีกจำนวนมากที่ถูกหักค่าบริการเสริมโดยที่ตัวเองไม่ทราบ จึงควรตรวจสอบกับผู้ให้บริการว่าได้สมัครบริการเสริมอะไรหรือไม่ตั้งแต่เมื่อไหร่ หากไม่ได้สมัครจะได้แจ้งยกเลิกและให้คืนเงินที่ถูกหักไปทั้งที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ” นางสาวสารีกล่าว            ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมจะได้พิจารณาข้อร้องเรียนนี้แล้วมีความเห็นว่า เมื่อผู้บริโภคไม่ได้สมัครใช้บริการ บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมไม่มีสิทธิคิดค่าบริการเสริม บริษัทจึงต้องคืนเงินค่าบริการเสิรมให้กับผู้ร้องและต้องชำระดอกเบี้ยส่วนต่างในอัตราเท่ากับที่บริษัทกำหนดว่าจะเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการในกรณีที่ผู้ใช้บริการผิดนัดชำระหนี้  อีกทั้งเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ และเข้าข่ายเป็นการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ๒๕๕๓ และเป็นอำนาจของ กสทช.ในการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค และมีอำนาจในการสั่งระงับการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวได้ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาบริการเสริมข้อมูลข่าวสารผ่าน เอสเอ็มเอ็สได้

ประธานอนุคุ้มครองผู้บริโภคฯ เรียกร้อง กทค.พิจารณากำหนดระยะเวลาพรีเพด อย่าสร้างภาระผู้บริโภค ต้องเติมเงินทุกเดือน พร้อมเสนอหากมีเงินของตัวเหลืออยู่ในระบบต้องสามารถ ใช้บริการได้



(28 ม.ค. 56) 
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง 
ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
เปิดเผยว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ กสทช. โดยเฉพาะสำนักงาน กสทช. ที่พยายามผลักดันงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับปัญหาเรื่อง การกำหนดระยะเวลาโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า หรือการกำหนดระยะเวลาการใช้โทรศัพท์ระบบเติมเงินนั้น แม้ว่าขณะนี้สำนักงาน กสทช. จะได้มีคำสั่ง จนทำให้เอไอเอสและทรูมูฟ ยุติการกำหนดระยะการใช้บริการจนกว่าการพิจารณาเพื่อให้มีการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เติมเงินจะแล้วเสร็จ นั้น ซึ่งเรื่องจะเข้าสู่การพิจารณาของ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เนื่องจากตามประกาศ มาตรฐานของสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๑๑ ระบุว่า ห้ามโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้ากำหนดระยะเวลาการใช้บริการ ยกเว้นได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการ ซึ่งหมายถึง กทค.  ซึ่งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งเอไอเอสและทรูมูฟ ได้ยื่นข้อเสนอแล้วว่า ให้ผู้ใช้บริการเติมเงินทุกมูลค่า จะสามารถใช้บริการได้ไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
   “ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีวาระที่มีการนำเข้าพิจารณาใน กทค. โดยมีความพยายามที่จะอนุมัติตามที่ผู้ให้บริการเสนอคือ เติมเงินเท่าไหร่อยู่ได้เพียง  30 วัน ซึ่งเป็นภาระกับผู้บริโภคอีกเช่นเดิม เพราะต้องคอยเติมเงินเข้าสู่ระบบทุกเดือน อย่างไรก็ตามข้อเสนอดังกล่าวได้ถูกคัดค้านจาก กสทช.เสียงข้างน้อย เพราะจากความพยายามในการหารือกับบริษัทมาหลายครั้ง เช่น ปีที่แล้วซึ่งได้เชิญผู้ประกอบการมาหารือ บริษัทได้เคยเสนอจำนวนวันที่ ๖๐
วัน และมีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดแต่ไม่ได้รับการอนุมัติ แต่หากการเสนอครั้งนี้แล้วที่ประชุมจึงรีบเห็นชอบ ก็จะถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่ายได้  สำหรับที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ นั้นเห็นว่า เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับผู้บริโภค หากผู้ใช้บริการยังมีเงินเหลืออยู่ในระบบต้องสามารถใช้บริการได้ คงต้องขอให้ประชาชนช่วยพิจารณาด้วยว่า การอนุมัติของ กทค.ครั้งนี้จะยืนอยู่ข้างใคร” นางสาวสารีกล่าว

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีของการหมดอายุสัญญาสัมทานคลื่น 1800 ของ TRUE และ DCP



 ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ในฐานะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีของการหมดอายุสัญญาสัมทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ควรปฏิบัติดังนี้

1.  กสทช. ต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าบริการของทั้งสองบริษัทจะสิ้นสุดลงภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 อย่างเร่งด่วนเนื่องจากมีเวลาเหลืออีกเพียง 8 เดือน และ ดำเนินการผู้บริโภคสามารถเลือกโอนย้ายค่ามือถือตามความประสงค์
2. กสทช. ต้องมีมาตรการในการโอนย้ายลูกค้าที่ต้องการรักษาเลขหมายเดิม (number portability) โดยดำเนินการให้ผู้ประกอบการเพิ่มขีดวามสามารถของบริการโอนย้ายเลขหมายให้เพิ่มจากในปัจจุบันที่           4000     เลขหมายต่อวันเป็น   40,000 เลขหมายต่อวันตามศักยภาพของ clearing house  เพื่อรองรับจำนวนลูกคาชอง True กว่า 17 ล้านรายที่จะได้รับผลกระทบจากการโอนย้าย (หากโอนย้ายได้วันละ 40,000 เลขหมายจะยังคงใช้เวลา 425 วัน)
3. ผู้ประกอบการต้องดำเนินการตรวจสอบรายชื่อผู้ใช้บริการที่ไม่ ได้ลงทะเบียนทาง SMS เพื่อแจ้งใหใทราบและให้แสดงเจตจำนงค์ในการย้ายเครือข่าย
4.  ผู้ประกอบการต้องระงับและปรับ package ที่ผูกพันหลักการสิ้นสุดสัญญาโดย กสทช. ให้ความเห็นชอบ  มิฉะนั้นแล้ว จะต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรายใหม่จะต้องรับผิดชอบ package โดยต้องเจรจาร่วมกับ ผู้ประกอบการรายเดิมเรื่องการโอนย้ายรายได้
5.  กสทช. จะต้องออกประกาศ หลักการในการโอนย้ายผู้ใช้บริการ (migration rules) อย่างเร่งด่วน ซึ่งจะกำหนดแผนงานในการดำเนินการของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อ ง เพื่อมิให้เกิดปัญหา จอดำในวันที่ 16 กันยายน 2556 แผนดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดดังนี้
5.1.   หลักการในการโอนย้ายผู้ใช้บริการที่ไม่เลือกปฏิบัติ
5.2.   หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง
5.3.   แผนการรองรับการโอนย้ายที่มีขั้นตอนและระยะเวลาที่ชัดเจน  เช่น ประกาศกำหนดวันที่ผู้ประกอบการจะหยุดให้บริการ การแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ  
5.4.   วิธีการดำเนินการสำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการย้าย (non order disconnection or transfer)
5.5.   วิธีการโอนเงินคงค้างในระบบให้แก่ผู้ประกอบการรายใหม่
     5.6.  แนวทางในการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการโอนย้าย (มีผู้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีระบบรองรับ)

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมมในยุค 3 และ 4 G


          

 นางสาวเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ อนุกรรมการคุ้มครองผุ้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า

                 1. แนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมทั่วไปมี 2 แนวทาง คือ การส่งเสริมการแข่งขันในตลาด และ การกำกับดูแลคุณภาพและอัตราค่าบริการในกรณีที่ตลาดไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควร   ที่ผ่านมา กสทช. ได้ละเลยมาตรการในการส่งเสริมการแข่งขันในตลาดโดยสิ้นเชิงทำให้ตลาดโทรคมนาคมไทยเป็นตลาดที่มีการแข่งขันที่จำกัด เช่น ในกรณีของโทรศัพท์มือถือ ก็มีเพียงสามรายเป็นต้น การประมูล 3G ที่ผ่านมา ก็ไม่มีรายใหม่เข้ามาแต่อย่างใด
      2. การที่จะช่วยส่งเสริมการแข่ขันได้แก่ มาตรการในการกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อ (IC Charge) ที่สอดคล้องกับต้นทุน มาตรการในการส่งเสริมการเชื่อมต่อโครงข่าย (interconnection) การเช่าใช้โครงข่าย (infrastructure sharing) การทำโรมมิ่ง (roaming)    ตลอดจนมาตรการในการส่งเสริมผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง MVNO  แต่ประกาศเหล่านี้ ซึ่งควรที่จะออกมา ก่อนที่จะมีการประมูล 3G กลับถูกละเลยจวบจนกระทั่งในปัจจุบัน  การขาดกฎ กติกาเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่มีโครงข่ายอยู่เดิมสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายเก่าได้เลย  เพราะจะไม่สามารถติดตั้งโครงข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ได้ตามข้อกำหนดในการประมูลได้เลย
        3. เมื่อตลาดไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควร ผู้บริโภคจึงต้องรับภาระอัตราค่าบริการที่สูงเกินควร  เช่น ภาระในการจ่ายค่าเชื่อมต่อโครงข่ายที่สูงถึง 1 บาทต่อนาทีในกรณีที่โทรนอกโครงข่าย  และ เงื่อนไขในการใช้บริการที่ไม่เป็นธรรม เช่น การกำหนดอายุ SIM ตามอำเภอใจ และการยึดเงินที่เหลือในบัตร ฯลฯ ที่ผ่านมา กสทช. ก็ม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แต่อย่างใด  ล่าสุดที่มาการประกาศอัตราค่าบริการสูงสุดเฉลี่ย 99 สตางค์ต่อนาทีก็เช่นกัน ก็ไม่มีผลแต่อย่างใด  ผู้ประกอบการยังมีการกำหนดอัตราค่าบริการที่เกิดอัตราเพดานดังกล่าวแม้กฎ ระเบียบดังกล่าวได้เริ่มใช้แล้วสำหรับทุก package ตั้งแต่เดือน มกราคม 2556
         4. อนึ่ง  การกำหนดราคาขายปลีกที่นาทีละไม่เกิน 99 สตางต์ ซึ่งเป็นอัตราที่ ต่ำกว่าอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายที่นาทีละ 1 บาทเป็นการส่งเสริมการผูกขาดในตลาดโทรคมนาคมไทยอย่างชัดเจน  เนื่องจากผู้ประกอบการที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง 3 รายเท่านั้นที่จะสามารถอยู่รอดได้ เพราะ MVNO และรายใหม่ที่อาจเข้ามาในตลาดที่ยังมีไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองต้องเสียค่าเชื่อมต่อที่สูงกว่าราคาที่สามารถเรียกเก็บจากผู้บริโภคจึงไม่สามารถอยู่รอดในเชิงพาณิชย์ได้
        5. ดังนั้น  เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าบริการที่อัตราเพดานจะเกิดขึ้นได้จริง กสทช. จะต้องดำเนินการการลดค่า IC อย่างเร่งด่วน  เช่น  เมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 DTAC มีโปรโมชั่น ซิมรับสาย รับทรัพย์โดยลูกค้า DTAC จะได้รับค่าโทรฟรีนาทีละ 50 สตางค์จากการรับสายจากเบอร์นอกเครือข่าย (เฉพาะจาก AIS DPC และ True Move ที่มีค่าเชื่อมต่อนาทีละ 1 บาท)  โดยกำหนดให้เลขหมายแต่ละเลขหมายสามารถรับเงินสูงสุดได้  2,000 บาทต่อเดือน   ทำให้มีผู้ใช้บริการที่ฉลาดบางรายสมัครโปรโมชั่นโทรไม่จำกัดจาก AIS เพื่อโทรเข้าเบอร์ของตนเองที่ DTAC เพื่อที่จะได้รับเงิน 50 สตางค์ทุกครั้งที่มีการโทรเข้าจากเครือข่าย AIS มายังเครือข่าย DTAC  ที่สมัครโปรโมชั่นดังกล่าวไว้จำนวนหลายเบอร์ทำให้สามารถสร้างรายได้เดือนละหลายพันบาท  ในขณะที่ผู้ให้บริการต้นทาง (คือ AIS) ต้องเสียค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (ที่สูงเกินควร) ให้แก่ DTAC เป็นวงเงินนับหมื่นกว่าบาทต่อเดือนตามจำนวนนาทีที่โทรออก  การที่ DTAC ออกโปรโมชั่นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าอัตราค่าเชื่อมต่อที่แม้จริงต่ำกว่า 50 สตางค์  เพราะแม้จะแบ่งรายได้ค่าเชื่อมต่อให้แก่ลูกค้าของตนเองครึ่งหนึ่ง คือ 50 สตางค์แล้ว  ก็ยังมีกำไร  ดังนั้น การที่ กสทช. จะกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อที่ 45 สตางค์นั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ดีและควรเร่งคับใช้อย่างเร่งด่วน  แต่ควรชี้แจงว่าเหตุใดไม่ใช่ 25 สตางค์ที่ปรึกษาของ กสทช. เคยเสนอแนะในอดีต และที่ อ. สมเกียรติเคยศึกษามาที่ 27 สตางต์ จะต้องมีการชี้แจงที่มาที่ไปที่ชัดเจน
         6. คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า  กสทช. ควรส่งเสริมให้มีการแข่งขันในตลาดเพื่อให้ผู้บริการขวนขวายในการให้บริการที่ดีและหลากหลายแก่ผู้บริโภคแทนการกำหนดมาตรการในการกำกับดูแลที่ไร้ประสิทธิผลดังที่ผ่านมา  โดยการลดค่า IC ให้ต่ำกว่าเดิม และการออกประกาศทั้ง 3 ฉบับ คือ ประกาศว่าด้วยการเช่าใช้โครงข่าย (infrastructure sharing) การทำโรมมิ่ง และ การประกอบธุรกิจของ MVNO อย่างเร่งด่วน  เพื่อที่จะลดอำนาผูกขาดของผู้ประกอบการในปัจจุบัน