นางสาวเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ อนุกรรมการคุ้มครองผุ้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า
1. แนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมทั่วไปมี
2 แนวทาง คือ การส่งเสริมการแข่งขันในตลาด และ
การกำกับดูแลคุณภาพและอัตราค่าบริการในกรณีที่ตลาดไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควร ที่ผ่านมา กสทช. ได้ละเลยมาตรการในการส่งเสริมการแข่งขันในตลาดโดยสิ้นเชิงทำให้ตลาดโทรคมนาคมไทยเป็นตลาดที่มีการแข่งขันที่จำกัด
เช่น ในกรณีของโทรศัพท์มือถือ ก็มีเพียงสามรายเป็นต้น การประมูล 3G ที่ผ่านมา ก็ไม่มีรายใหม่เข้ามาแต่อย่างใด
2. การที่จะช่วยส่งเสริมการแข่ขันได้แก่
มาตรการในการกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อ (IC Charge) ที่สอดคล้องกับต้นทุน มาตรการในการส่งเสริมการเชื่อมต่อโครงข่าย (interconnection)
การเช่าใช้โครงข่าย (infrastructure sharing) การทำโรมมิ่ง
(roaming) ตลอดจนมาตรการในการส่งเสริมผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง
MVNO แต่ประกาศเหล่านี้
ซึ่งควรที่จะออกมา “ก่อน’ ที่จะมีการประมูล
3G กลับถูกละเลยจวบจนกระทั่งในปัจจุบัน การขาดกฎ
กติกาเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่มีโครงข่ายอยู่เดิมสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายเก่าได้เลย เพราะจะไม่สามารถติดตั้งโครงข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ได้ตามข้อกำหนดในการประมูลได้เลย
3. เมื่อตลาดไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควร
ผู้บริโภคจึงต้องรับภาระอัตราค่าบริการที่สูงเกินควร เช่น
ภาระในการจ่ายค่าเชื่อมต่อโครงข่ายที่สูงถึง 1 บาทต่อนาทีในกรณีที่โทรนอกโครงข่าย และ เงื่อนไขในการใช้บริการที่ไม่เป็นธรรม
เช่น การกำหนดอายุ SIM ตามอำเภอใจ
และการยึดเงินที่เหลือในบัตร ฯลฯ ที่ผ่านมา กสทช. ก็ม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แต่อย่างใด ล่าสุดที่มาการประกาศอัตราค่าบริการสูงสุดเฉลี่ย
99 สตางค์ต่อนาทีก็เช่นกัน ก็ไม่มีผลแต่อย่างใด ผู้ประกอบการยังมีการกำหนดอัตราค่าบริการที่เกิดอัตราเพดานดังกล่าวแม้กฎ
ระเบียบดังกล่าวได้เริ่มใช้แล้วสำหรับทุก package ตั้งแต่เดือน
มกราคม 2556
4. อนึ่ง การกำหนดราคาขายปลีกที่นาทีละไม่เกิน 99
สตางต์ ซึ่งเป็นอัตราที่ “ต่ำ” กว่าอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายที่นาทีละ 1 บาทเป็นการส่งเสริมการผูกขาดในตลาดโทรคมนาคมไทยอย่างชัดเจน เนื่องจากผู้ประกอบการที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง
3 รายเท่านั้นที่จะสามารถอยู่รอดได้ เพราะ MVNO และรายใหม่ที่อาจเข้ามาในตลาดที่ยังมีไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองต้องเสียค่าเชื่อมต่อที่สูงกว่าราคาที่สามารถเรียกเก็บจากผู้บริโภคจึงไม่สามารถอยู่รอดในเชิงพาณิชย์ได้
5. ดังนั้น
เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าบริการที่อัตราเพดานจะเกิดขึ้นได้จริง กสทช.
จะต้องดำเนินการการลดค่า IC อย่างเร่งด่วน เช่น
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 DTAC มีโปรโมชั่น “ซิมรับสาย รับทรัพย์” โดยลูกค้า DTAC จะได้รับค่าโทรฟรีนาทีละ 50 สตางค์จากการรับสายจากเบอร์นอกเครือข่าย
(เฉพาะจาก AIS DPC และ True Move ที่มีค่าเชื่อมต่อนาทีละ
1 บาท) โดยกำหนดให้เลขหมายแต่ละเลขหมายสามารถรับเงินสูงสุดได้ 2,000 บาทต่อเดือน
ทำให้มีผู้ใช้บริการที่ฉลาดบางรายสมัครโปรโมชั่นโทรไม่จำกัดจาก AIS เพื่อโทรเข้าเบอร์ของตนเองที่ DTAC เพื่อที่จะได้รับเงิน
50 สตางค์ทุกครั้งที่มีการโทรเข้าจากเครือข่าย AIS มายังเครือข่าย
DTAC ที่สมัครโปรโมชั่นดังกล่าวไว้จำนวนหลายเบอร์ทำให้สามารถสร้างรายได้เดือนละหลายพันบาท ในขณะที่ผู้ให้บริการต้นทาง (คือ AIS) ต้องเสียค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (ที่สูงเกินควร) ให้แก่ DTAC เป็นวงเงินนับหมื่นกว่าบาทต่อเดือนตามจำนวนนาทีที่โทรออก การที่ DTAC ออกโปรโมชั่นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าอัตราค่าเชื่อมต่อที่แม้จริงต่ำกว่า
50 สตางค์
เพราะแม้จะแบ่งรายได้ค่าเชื่อมต่อให้แก่ลูกค้าของตนเองครึ่งหนึ่ง คือ 50
สตางค์แล้ว ก็ยังมีกำไร ดังนั้น การที่ กสทช.
จะกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อที่ 45 สตางค์นั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ดีและควรเร่งคับใช้อย่างเร่งด่วน แต่ควรชี้แจงว่าเหตุใดไม่ใช่ 25 สตางค์ที่ปรึกษาของ กสทช. เคยเสนอแนะในอดีต และที่ อ. สมเกียรติเคยศึกษามาที่
27 สตางต์ จะต้องมีการชี้แจงที่มาที่ไปที่ชัดเจน
6. คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า กสทช. ควรส่งเสริมให้มีการแข่งขันในตลาดเพื่อให้ผู้บริการขวนขวายในการให้บริการที่ดีและหลากหลายแก่ผู้บริโภคแทนการกำหนดมาตรการในการกำกับดูแลที่ไร้ประสิทธิผลดังที่ผ่านมา โดยการลดค่า IC ให้ต่ำกว่าเดิม และการออกประกาศทั้ง 3
ฉบับ คือ ประกาศว่าด้วยการเช่าใช้โครงข่าย (infrastructure sharing) การทำโรมมิ่ง และ การประกอบธุรกิจของ MVNO อย่างเร่งด่วน
เพื่อที่จะลดอำนาผูกขาดของผู้ประกอบการในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น