วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีของการหมดอายุสัญญาสัมทานคลื่น 1800 ของ TRUE และ DCP



 ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ในฐานะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีของการหมดอายุสัญญาสัมทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ควรปฏิบัติดังนี้

1.  กสทช. ต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าบริการของทั้งสองบริษัทจะสิ้นสุดลงภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 อย่างเร่งด่วนเนื่องจากมีเวลาเหลืออีกเพียง 8 เดือน และ ดำเนินการผู้บริโภคสามารถเลือกโอนย้ายค่ามือถือตามความประสงค์
2. กสทช. ต้องมีมาตรการในการโอนย้ายลูกค้าที่ต้องการรักษาเลขหมายเดิม (number portability) โดยดำเนินการให้ผู้ประกอบการเพิ่มขีดวามสามารถของบริการโอนย้ายเลขหมายให้เพิ่มจากในปัจจุบันที่           4000     เลขหมายต่อวันเป็น   40,000 เลขหมายต่อวันตามศักยภาพของ clearing house  เพื่อรองรับจำนวนลูกคาชอง True กว่า 17 ล้านรายที่จะได้รับผลกระทบจากการโอนย้าย (หากโอนย้ายได้วันละ 40,000 เลขหมายจะยังคงใช้เวลา 425 วัน)
3. ผู้ประกอบการต้องดำเนินการตรวจสอบรายชื่อผู้ใช้บริการที่ไม่ ได้ลงทะเบียนทาง SMS เพื่อแจ้งใหใทราบและให้แสดงเจตจำนงค์ในการย้ายเครือข่าย
4.  ผู้ประกอบการต้องระงับและปรับ package ที่ผูกพันหลักการสิ้นสุดสัญญาโดย กสทช. ให้ความเห็นชอบ  มิฉะนั้นแล้ว จะต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรายใหม่จะต้องรับผิดชอบ package โดยต้องเจรจาร่วมกับ ผู้ประกอบการรายเดิมเรื่องการโอนย้ายรายได้
5.  กสทช. จะต้องออกประกาศ หลักการในการโอนย้ายผู้ใช้บริการ (migration rules) อย่างเร่งด่วน ซึ่งจะกำหนดแผนงานในการดำเนินการของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อ ง เพื่อมิให้เกิดปัญหา จอดำในวันที่ 16 กันยายน 2556 แผนดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดดังนี้
5.1.   หลักการในการโอนย้ายผู้ใช้บริการที่ไม่เลือกปฏิบัติ
5.2.   หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง
5.3.   แผนการรองรับการโอนย้ายที่มีขั้นตอนและระยะเวลาที่ชัดเจน  เช่น ประกาศกำหนดวันที่ผู้ประกอบการจะหยุดให้บริการ การแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ  
5.4.   วิธีการดำเนินการสำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการย้าย (non order disconnection or transfer)
5.5.   วิธีการโอนเงินคงค้างในระบบให้แก่ผู้ประกอบการรายใหม่
     5.6.  แนวทางในการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการโอนย้าย (มีผู้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีระบบรองรับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น