วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เผย ๒บริษัทใหญ่ ยังไม่ปฏิบัติตามประกาศ อัตราขั้นสูง ๙๙ สตางค์ต่อนาที ขอให้กสทช. เร่งรัดคำสั่งทางปกครอง


วันนี้ (๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๖) คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมได้แถลงข่าวเรื่อง อัตราค่าบริการเสียง ๙๙ สตางค์ กับกรณี ๒ บริษัทโทรคมฯ ยังไม่ปฏิบัติตาม ประกาศ เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ ต่อบริษัทผู้มีอำนาจเหนือตลาด ๒ รายคือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด และ บมจ.โทเทิ่ลแอ็ดเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด ต้องปฏิบัติตามเป็นการทั่วไปตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๖ ซึ่งล่าสุด กทค. ได้มีมติสั่งให้ ดีแทค คืนค่าบริการให้แก่ผู้ใช้บริการรายหนึ่งที่ร้องเรียนมายัง กสทช.แล้วนั้น

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวจากข้อมูลสถิติสรุปเรื่องร้องเรียนกรณีคิดค่าบริการไม่เป็นไปตามอัตราขั้นสูงพบว่า ปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น ๑๖๕ เรื่อง คงเหลือเรื่องร้องเรียนที่ยังไม่ยุติจำนวน ๑๒๗ เรื่อง จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถพิจารณาได้ดังนี้คือ ๑) การที่บริษัทคิดค่าบริการตามรายการส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย  ที่มีทั้งในรูปแบบที่เป็นไปตามอัตราขั้นสูงค่าบริการเสียง เช่น แพ็คเกจ ๗๙๙ บาท โทรฟรี ๙๕๐ นาที เฉลี่ยคิดอัตราค่าบริการนาทีละ ๘๔ สตางค์ และแบบพบว่าเป็นแพ็คเกจที่คิดค่าบริการแบบไม่เป็นไปตามอัตราขั้นสูง เช่น แพ็คเกจ ๔๐๐ บาท โทรฟรี ๔๐๐ นาที เท่ากับคิดค่าบริการนาทีละ ๑ บาท  ๒) การคิดค่าบริการส่วนที่เกินจากรายการส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย เช่น  แพ็คเกจ ๒๐๐ บาท โทรฟรี ๒๐๐ นาที ส่วนที่เกินนาทีละ ๑.๕๐ บาท  หรือ แพ็คเกจ ๗๙๙ บาท โทรฟรี ๙๕๐ นาที ส่วนที่เกินนาทีละ ๑.๕๐ บาท  ซึ่งพบอยู่เป็นการทั่วไปแทบทุกโปรโมชั่น

“ผู้ร้องรายหนึ่ง สมัครแพ็คเกจ ๔๐๐ บาท โทรฟรี ๔๐๐ นาที ส่วนเกินนาทีละ ๑.๕๐ บาท ถูกบริษัทคิดค่าบริการส่วนเกินโปรโมชั่นรวม ๑๒๐๐ บาท ทั้งที่หากคิดค่าบริการตามอัตราขั้นสูงผู้ร้องต้องจ่ายเพียง ๘๐๐ บาทเท่านั้น จึงเห็นได้ว่ามีการคิดค่าบริการในส่วนที่เกินจากรายการส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่ายเกินกว่าอัตราขั้นสูงฯเป็นจำนวน ๕๑ สตางค์ต่อนาที ซึ่งทั้งสองบริษัทเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดมีผู้ใช้บริการรวมกันแล้วถึงร้อยละ ๗๐  ของประเทศ “ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมกล่าว

ดังนั้นที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม จึงเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมจากการคิดค่าบริการโทรคมนาคมตามประกาศ กสทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงฯ ของค่าบริการประเภทเสียง  ๑) กสทช. ควรมีคำสั่งปรับทางปกครองเพื่อให้ทั้งสองบริษัทปฏิบัติตามประกาศ อัตราขั้นสูง และแม้ว่าจะมีการอุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องยกเลิกคำสั่ง แต่ก็ยังไม่มีผลในการทุเลาบังคับทางปกครอง เพื่อมิให้ต้องเป็นภาระกับผู้บริโภคที่ต้องร้องเรียนเป็นรายกรณี   ๒)ขอให้กสทช.สั่งให้สำนักงาน กสทช. ใช้อำนาจตาม มาตรา ๖๑ พรบ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เพื่อให้ ทั้งสองบริษัทแสดงรายละเอียด คือ จำนวน และรายชื่อของผู้ใช้บริการที่ถูกคิดค่าบริการเกินกว่าอัตราขั้นสูงตามประกาศ กสทช.  , วัน เวลา ที่ผู้ใช้บริการแต่ละรายถูกคิดค่าบริการเกินกว่าอัตราขั้นสูง ตามประกาศ กสทช. , แนวทางการคืนเงินค่าบริการ พร้อมดอกเบี้ย เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ ๓) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ร้องเรียนมีสิทธิชำระค่าบริการเฉพาะส่วนที่เห็นว่าไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ได้ หากไม่พบว่าไม่เป็นการเรียกเก็บเกินอัตราก็ให้เรียกเก็บเงินต่อไป แต่หากพบว่า เป็นการเรียกเก็บเกิน ก็ต้องคืนเงินส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ใช้บริการ ๔) กสทช. ควรประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อให้ผู้ใช้บริการของทั้ง ๒ บริษัทได้รับทราบสิทธิในการใช้บริการนี้เป็นการทั่วไป
“ขณะที่มีผู้ใช้บริการของทั้งสองบริษัทมีจำนวนเป็น หลายสิบล้าน และเงินที่ผู้ให้บริการทั้งสองรายเรียกเก็บเกินไปจากผู้ใช้บริการก็เป็นจำนวนไม่น้อย กสทช. ควรเร่งประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้ผู้บริโภครับทราบ เพราะเชื่อว่า ยังมีผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ทราบ ทั้งที่ถูกคิดค่าบริการเกินมากกว่า ๙๙ สตางค์ต่อนาที  “ นางสาวสารีกล่าว

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเตือนผู้ให้บริการ๓จี มาตรฐานความเร็วในการส่งข้อมูลต้องไม่ต่ำกว่า ๓๔๕ เค



อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เผย
 
บริษัทยังทำผิดเงื่อนไขใบอนุญาต เหตุเพราะโปรโมชั่น
 
กำหนดค่าเอฟยูพี  ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ใน ประกาศ
 
กสทช. คือต้องไม่ต่ำกว่า ๓๔๕ กิโลบิตต่อวินาทีหลังพบ
 
แจ้งมาตรฐานความเร็วขั้นต่ำที่ผู้บริโภคได้รับตกลงเหลือเพียง๖๔
 
กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น พร้อมหนุน กสทช.
 
เร่งรัดบริษัทลดค่าบริการให้ได้ร้อยละ ๑๕
 
 (๒๐ พ.ค.๕๖)  ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
 
อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า
 
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีการหารือกันเกี่ยวกับบริกา
 
ร ๓จี ในหลายประเด็น ซึ่งที่ประชุมได้มีมติสนับสนุนการดำเนินการของ
 
กสทช กรณีเร่งรัดเพื่อให้เกิดการลดค่าบริการ ๓ จีลงร้อยละ ๑๕
 
ให้กับผู้บริโภค อย่างไรก็ตามที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ
 
ยังพบว่าผู้ให้บริการยังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบกิจการโทร
 
คมนาคมแบบที่ ๓
 
ในประเด็นคุณภาพการให้บริการและการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ซึ่งระบุว่า
 
ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการควบคุมคุณภาพบริการให้เป็นไปตามประกา
 
ศคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตามประกาศ กสทช. เรื่อง
 
มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครง
 
ข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบุว่า ความเร็วเฉลี่ยในการส่งข้อมูลของบริการ
 
๓จี ต้องไม่ต่ำกว่า ๓๔๕ กิโลบิตต่อวินาที
 
อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำกว่าที่กำหนดตามประกาศ กสทช.
 
มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโค
 
รงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือความเร็วในการดาวน์โหลดต้องไม่ต่ำกว่า
 
๓๔๕ กิโลบิตต่อวินาที และความเร็วในการอัปโหลดต้องไม่ต่ำกว่า ๑๕๓
 
กิโลบิตต่อวินาที แต่จากรายการส่งเสริมการขายใหม่เพื่อให้บริการ๓จี
 
“จากข้อมูลโปรโมชั่นของผู้ให้บริการพบว่า 
 
พบว่าได้กำหนดอัตรารับรองในการรับส่งข้อมูลขั้นต่ำนั้นต่ำลงกว่าเมื่อครั้งเ
 
ป็นบริการ ๒G  คือ อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลขั้นต่ำเหลือเพียง
 
๖๔,๑๒๘และ ๒๕๖ กิโลบิตต่อวินาที เท่านั้น”
 
อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกล่าว
 
ดร.เดือนเด่นกล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังเห็นว่า
 
ควรมีการกำหนดมินิมัมแพ็คเกจ
 
ที่เป็นมาตรฐานไว้และหากพบว่ามีการใช้บริการเกินกว่ามิติมัมแพ็คเกจ
 
ก็ควรมีการแจ้งเตือนกันผู้ใช้บริการ
 
เพื่อป้องกันปัญหาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
 
“ผู้ให้บริการควรมีการแจ้งเตือนเรื่องค่าใช้จ่ายการใช้บริการ
 
เช่นในต่างประเทศ
 
หากการใช้บริการของผู้ใช้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปแบบผันผวนเช่น
 
ใช้มากกว่าปกติไป ๒ ถึง ๓ เท่าตัว จะต้องแจ้งผู้ใช้บริการทราบ 
 
เพื่อเป็นกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคแบบอัตโนมัติ
 
ซึ่งสำหรับประเทศไทยพบว่า
 
มีบางบริษัทที่โทรสอบถามลูกค้าหากมีการใช้บริการที่มากผิดปกติ
 
ซึ่งควรทำให้เป็นมาตรฐานเป็นการทั่วไป “ ดร.เดือนเด่นกล่าว
 
นอกจากนี้ยังพบว่า  ผู้บริโภคที่ใช้บริการ
 
๓จีประสบปัญหาโดยรวมคือ กรณีโปรโมชั่นเดิม
 
หรือลูกค้ารายเดิมที่เคยใช้บริการ๓จีภายใต้โครงข่าย
 
๒จี นั้นพบว่า มีการลดค่าบริการให้จริง
 
แต่บริษัทมิได้แจ้งรายละเอียดสิทธิประโยชน์ให้ผู้ใช้บริการทราบ
 
เช่น  ลดค่าบริการให้ลูกค้าจาก ๖๙๙ บาทเหลือ ๔๙๙ บาท
 
แต่ไม่แจ้งสิทธิประโยชน์ให้ทราบ ,ลดค่าบริการให้จริงแต่ก็ลดสิทธิประโย
 
ชน์ลงด้วย เช่น เคยใช้บริการเสียงได้ ๔๐๐ นาทีถูกลดเหลือ ๓๐๐ นาที ,
 
หรือยังไม่ดำเนินการลดค่าบริการให้กับผู้ใช้บริการเลย
 
รวมถึงการไม่โอนย้ายเงินคงเหลือในระบบให้ใน
 
กรณีการโอนย้ายบริการจาก ๒ จีไป๓จี ของผู้ใช้บริการระบบเติมเงิน
 
หรือกรณีการโอนย้ายเครือข่ายแล้วไม่สามารถใช้บริการไม่ได้
 
เมื่อผู้ใช้บริการต้องการโอนย้ายไปผู้ให้บริการรายใหม่
 
แต่บริษัทไม่ดำเนินการให้โดยอ้างว่าต้องอยู่กับผู้ให้บริการรายเดิม
 
๙๐ วัน ซึ่งประกาศ กสทช.
 
ไม่เคยกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องกับอยู่ผู้ให้บริการรายเดิม ๙๐ วัน
 
แต่ผู้ใช้บริการสามารถโอนย้ายเครือข่ายเมื่อใดก็ได้ ,ปัญหา
 
ความครอบคลุมของพื้นที่ให้บริการ เช่นมีการประชาสัมพันธ์
 
แต่ไม่มีการให้บริการในพื้นที่นั้น  เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เสนอ กสทช. กำกับบริษัทมือถือ ออกเบสิคแพ็คเกจ


แฉหลังพบโปรโมชั่นมือถือมั่ว โปรหลักโปรเสริม แถมใช้เลห์บีบผู้บริโภคจ่ายแพงกว่าเดิม ๒ เท่า ด้วยแพ็คเกจเหมาจ่ายราคาสูงขึ้นแต่ไม่เกิน ๙๙ สตางค์ต่อนาที อนุกรรมการฯชี้ทางออกต้องมี เบสิคแพ็คเกจ คิดค่าโทรตรงไปตรงมา ตามประกาศอัตราขั้นสูงฯ

ดร.ไพบูลย์  ช่วงทอง อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมว่า การคิดค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงเพื่อให้เป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งบังคับใช้เฉพาะบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด ๒ รายคือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็ดเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น พบว่า ผู้บริโภคยังประสบปัญหาในการใช้บริการดังต่อไปนี้คือ

๑) ผู้บริโภคถูกบริษัทเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนโปรโมชั่น เนื่องจากบริษัทมิได้ปรับลดค่าบริการตามรายการส่งเสริมการขายต่างๆให้เป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่องอัตราขั้นสูงฯ พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการเสียค่าบริการในอัตราไม่เกิน ๙๙ สตางค์ ต่อนาที ต้องเลือกรายการส่งเสริมการขายที่บริษัทจัดไว้ให้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงรายการส่งเสริมการขาย 

๒) บริษัทฯ ยังคงเรียกเก็บค่าบริการเกิน ๙๙ สตางค์ เช่น คิดค่าโทรนอกเครือข่ายและนอกเวลาส่งเสริมการขาย ๑.๒๙ บาทต่อนาที โดยอ้างว่าเป็นการเรียกเก็บตามรายการส่งเสริมการขายเดิมจนกว่าระยะเวลาส่งเสริมการขายเดิมจะสิ้นสุด 

๓) บริษัทฯมีการกำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมการขายที่มีอัตราค่าบริการสูงขึ้น โดยไม่มีทางเลือกให้กับผู้บริโภค  เช่น กำหนดให้ต้องใช้ รายการ คุยสะใจ ค่าบริการขั้นต่ำรายเดือน ๓๕๐ บาท โทรทุกเครือข่าย ๓๖๐ นาที จากเดิมที่ผู้ร้องอาจใช้บริการเพียง ประมาณ ๒๐๐ บาทต่อเดือน

และ ๔) บริษัทมีการกำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมการขาย เช่น รายการโทรสะใจ อัตราค่าโทรคิดแบบเหมาจ่ายคือ ๒.๗๕ บาท โทรได้ ๓ นาที เฉลี่ยนาทีละ ๙๒ สตางค์ โทรเกิน ๓ นาทีคิดนาทีละ ๕๐ สตางค์ ทุกเครือข่ายตลอด ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งหากผู้ใช้บริการโทรเพียง ๑ นาทีก็ต้องจ่ายค่าบริการในราคาเหมาจ่ายคือ ๒.๗๕ บาท 

          “จนถึงขณะนี้เกือบครบ ๙๐ วันของการบังคับใช้ประกาศอัตราขั้นสูงแล้ว บริษัทยังไม่มีการดำเนินการปรับลดอัตราค่าบริการเสียงให้กับผู้บริโภคแบบอัตโนมัติ แต่อ้างรายการส่งเสริมการขายเดิม ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนประกาศ กสทช.  ทั้งยังเอาเปรียบโดยหากผู้ใช้บริการต้องการใช้รายการส่งเสริมการขายที่เป็นไปตามกฎหมายจะต้องเสียเงินค่าเปลี่ยนโปรโมชั่นเองทั้งที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย  นอกจากนี้บริษัทยังได้ออกรายการส่งเสริมการขายใหม่ที่ดูเหมือนจะเป็นไปตามกฎหมายแต่รายการส่งเสริมการขายดังกล่าวก็มีราคาสูงและเกินกว่าความจำเป็นของผู้บริโภคในการใช้บริการ เช่น กรณีที่ผู้ร้องใช้โทรศัพท์โทรไม่ถึง ๒๐๐ นาที แต่ถูกบังคับด้วยโปรโมชั่น เหมาจ่าย ๓๕๐ บาท โดยได้ ๓๖๐ นาที เท่ากับต้องจ่ายนาทีละ ๑.๗๕ บาท แม้บริษัทจะไม่ได้ทำผิดกฎหมายแต่ผู้ร้องต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อเดือนมากขึ้นจากเทคนิคของบริษัท “ดร.ไพบูลย์กล่าว

                อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมกล่าวต่อไปว่า  สิ่งที่ต้องพิจารณานอกจาก สำนักงาน กสทช.  ควรต้องเร่งดำเนินการบังคับใช้ประกาศฉบับนี้ให้เป็นจริงแล้ว ควรมีการกำหนดเงื่อนไขการคิดค่าบริการแบบ Basic package หรือการมีโปรหลัก โดยให้ผู้บริโภคได้เลือกจากพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการใช้งานของตน  ไม่มีสิทธิพิเศษเพิ่ม แต่ค่าบริการเรียกเก็บตามประกาศอัตราขั้นสูงฯ หรือเรียกเก็บตามที่ได้มีการใช้บริการจริง ขณะที่โปรโมชั่น หรือรายการส่งเสริมการขายคือสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถเลือกเพื่อไปเสริมการใช้งานทั่วไปของตน และส่วนใหญ่จะมีการกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิไม่นาน เช่น ๓๐ วัน หรือ ๑๒ รอบบิล ขณะที่โปรหลักจะไม่มีการกำหนดระยะเวลา

                “กสทช. ควรกำหนดนิยามของคำว่า รายการส่งเสริมการขาย และกำหนดเงื่อนไขการคิดค่าบริการให้ชัดเจน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอัตราค่าบริการ ไม่ควรนำเรื่อง Basic package มาปนกันมั่วกับส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย เพราะจะทำให้บริษัทสามารถหลีกเลี่ยงกฎหมายได้ กสทช. จึงต้องเข้าไปกำกับให้มีโปรหลัก และให้มีอัตราค่าบริการของ โปรหลักต่างๆไม่เกิน ๙๙ สตางค์ต่อนาที ส่วนรายการส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย ก็ต้องหมายถึงโปรเสริมซึ่งผู้บริโภคมีโอกาสเลือกได้ว่าจะจ่ายเพิ่มหรือไม่ ถ้าผู้บริโภคเลือกไม่จ่ายเพิ่ม ค่าบริการทุกนาทีของเขาก็จะต้องไม่เกิน ๙๙ สตางค์โดยผลของกฎหมาย” ดร.ไพบูลย์กล่าว\

                ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนม.ค.-มี.ค.56 มีเรื่องร้องเรียนกรณีเรื่องอัตราขั้นสูงค่าบริการเสียงจำนวน ๓๐๐ กว่าเรื่อง

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

อนุฯ คุ้มครองผู้บริโภค หวั่น 345 เรื่องโทรคมนาคมล่าช้า กระทบผู้บริโภค

ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ แย้ง กทค. ยันเรื่องร้องเรียน 345 เรื่อง ทำงานตามขั้นตอน ชี้เรื่องล่าช้าเกิดจากสำนักงาน กสทช.ดองเรื่องไม่เสนอบอร์ด กทค. หวั่นปัญหาตกผู้บริโภค...


นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวกับสำนักงาน กสทช. ในกรณีความขัดแย้งเรื่องร้องเรียนล่าช้า 345 เรื่อง และทำงานตามขั้นตอนตามประกาศทุกประการ ส่วนกรณีที่ระบุว่าคณะอนุกรรมการคุ้มครองฯ พิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยไม่เรียกคู่กรณีมาคุยกันนั้น ขอยืนยันว่าที่ผ่านมาในการพิจารณาทุกกรณีที่มีการร้องเรียนเข้ามา คณะอนุกรรมการคุ้มครองฯ ได้ทำงานอย่างโปร่งใส มีการส่งหนังสือแจ้งคู่กรณีไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง

ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. กล่าวต่อว่า ขณะนี้ไม่ทราบว่าสาเหตุที่สำนักงานยังไม่ส่งเรื่องให้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณาเรื่องร้องเรียน 345 เรื่องนั้น มีสาเหตุมาจากอะไร ซึ่งการทำงานที่ล่าช้าผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ ผู้บริโภค เพราะในขณะที่มีการร้องเรียนเข้ามา ผู้บริโภคนั้นได้ถูกตัดการบริการ โดยสิ่งที่ กทค.ต้องทำเร่งด่วน คือ ต้องออกมาชี้ให้ชัดเจนตามประกาศเดิมของ กทช.ว่า ผู้ประกอบการต้องเปิดให้บริการชั่วคราวแก่ผู้บริโภคก่อน จนกว่าข้อร้องเรียนนั้นจะยุติ แต่ที่ผ่านมาไม่มีผู้ประกอบการรายใดเปิดให้บริการแก่ผู้บริโภคเลย

“เรื่องที่บอกว่าคณะอนุฯ ไม่มีการเรียกคู่กรณีมาคุยกันนั้น ไม่จริง เราได้ทำจดหมายไปยังคู่กรณีอย่างน้อย 2 ครั้ง ทุกราย เพราะฉะนั้นสำนักงาน กสทช.ให้โอกาสบริษัทมากกว่าให้โอกาสผู้บริโภค ซึ่งยืนยันว่าไม่ได้มีปัญหาขั้นตอนปฏิบัติทางปกครองใดๆ เลย โดยเรื่องร้องเรียน 345 เรื่องที่เข้ามา ขั้นตอนแรกให้โอกาส 15 วัน ขั้นตอนที่ 2 ให้โอกาสอีก 7 วัน เป็นการให้โอกาสในการชี้แจง 2 ครั้ง ซึ่งบางเรื่องใน 345 เรื่องเป็นเรื่องร้องเรียนที่เกิดขึ้นมาเป็นปีแล้ว ซึ่งเกิน 30 วัน ซึ่งหลายเรื่องเป็นเรื่องที่มีกรณีการร้องเรียนและตรวจสอบแล้วเข้าข่ายเดียวกัน และขอยืนยันว่าคู่กรณีนั้นเห็นจดหมายแจ้ง 2 ครั้งแน่นอน” นางสาวสารี กล่าว

อ้างอิง http://www.thairath.co.th/content/tech/333013

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

นับถอยหลัง 6 เดือน “ซิมดับ” “หมอลี่” ฟันธง! ทางแก้ดีที่สุดคือเร่งประมูลคลื่น 1800 ยืนยัน กสทช. ต้องไม่ทำผิดกฎหมายโดยอ้างผู้บริโภค

หมอลี่ชี้ทางออกที่ดีที่สุดในการรองรับกรณีการสิ้นสุดสัมปทานของคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ก็คือ กสทช. ต้องเร่งจัดการประมูลคลื่นเพื่อให้เกิดบริการรายใหม่เข้าสู่ตลาด ซึ่งจะเป็นทางเลือกของผู้บริโภคต่อไป ควบคู่กับการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการขยายขีดความสามารถการโอนย้ายค่าย รองรับผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องการเสียสิทธิในเลขหมายเดิม ส่วนการยืดสิทธิถือครองคลื่นโดยอ้างว่าเป็นการเยียวยาผู้บริโภคนั้นทำไม่ได้ เพราะผิดกฎหมายเต็มที่และขัดต่อหลักการเปลี่ยนผ่านจากยุคสัมปทานสู่ยุคการออกใบอนุญาต อันเป็นต้นกำเนิดของ กสทช. เอง ดังนั้น กสทช. ต้องแสดงฝีมือที่จะจัดการเรื่องนี้อย่างถูกกฎหมายโดยไม่ก้าวถอยหลัง
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่สัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในส่วนที่บริษัททรูมูฟและบริษัทดิจิตอลโฟนให้บริการอยู่กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน ศกนี้ ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นเหตุการณ์สำคัญของกิจการโทรคมนาคมที่จะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในลักษณะที่บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะยุติลง ซึ่งจะทำให้การบริการของค่ายมือถือสองรายหายไป หรืออาจเรียกได้ว่า “ซิมดับ” คือใช้การไม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องท้าทาย กสทช. โดยเฉพาะกรรมการด้านกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ที่จะต้องแสดงฝีมือให้ปรากฏ นั่นคือทำอย่างไรที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างเรียบร้อย เป็นธรรม และที่สำคัญคือถูกต้องตามกฎหมายและกติกาของสังคม
“เรื่องซิมดับไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ก็ยอมรับว่าจะมีผลกระทบจริง สิ่งที่สำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคไม่เดือดร้อนและการเปลี่ยนผ่านเดินไปในกรอบของกฎหมายและเจตนารมณ์การปฏิรูปการถือครองทรัพยากรความถี่ ที่สังคมไทยมีฉันทามติร่วมกันมาก่อนแล้วว่าเราต้องการก้าวข้ามจากยุคสัมปทานมาสู่ยุคการออกใบอนุญาตและการกำกับดูแล หลักการนี้คือจุดกำเนิดของ กสทช. เอง และปรากฏชัดเจนทั้งในรัฐธรรมนูญและ พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ดังนั้น กสทช. ต้องเคารพและต้องแสดงฝีมือให้สังคมไว้วางใจได้”
นายประวิทย์ หรือ “หมอลี่” ระบุว่า ในส่วนของผู้บริโภคนั้น วิธีการดูแลที่ดีต้องเริ่มต้นจากพื้นฐานคือ ทำให้ทราบและเท่าทันต่อสถานการณ์ที่ว่า เมื่อถึงกลางเดือนกันยายน บริการโทรศัพท์มือถือของบริษัททรูมูฟและบริษัทดิจิตอลโฟนจะไม่มีอีกต่อไป ซึ่งคนที่ใช้บริการของทั้งสองรายมีโจทย์ว่าจะต้องหาบริการทดแทน และถ้าหากต้องการรักษาเลขหมายที่ใช้อยู่ก็ควรต้องดำเนินการโอนย้ายค่าย หรือใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย (Mobile Number Portability) ดังนั้นในส่วนนี้จึงเป็นภาระหน้าที่ของ กสทช. ร่วมกับผู้ให้บริการทั้งหมด ที่จะต้องทำให้การโอนย้ายค่ายสามารถรองรับหรือตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการจำนวนมากได้ ซึ่งตามกฎหมายกำหนดว่า หลังจากได้รับแจ้งจากผู้ใช้บริการแล้วจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ใน 3 วัน
ทั้งนี้ เกี่ยวกับการเตรียมการเรื่องดังกล่าว กสทช. ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า DIGITAL PCN (Personal Communication Network) 1800 ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอก กสทช. ซึ่งคณะอนุกรรมการก็ได้จัดทำข้อเสนอต่อ กทค. แล้ว โดยแนะนำให้เน้นเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลผู้บริโภคแต่เนิ่นๆ และการเพิ่มประสิทธิภาพการคงสิทธิเลขหมาย เช่นเดียวกัน
พร้อมกันนั้น คณะอนุกรรมการฯ ยังได้เสนอให้ กทค. จัดหาและมอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินการสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งจะต้องดำเนินการในสองส่วน ได้แก่ การจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ ซึ่งที่ประชุม กทค. เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบต่อข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ แล้ว แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่า มีการสั่งการนอกรอบให้คณะอนุกรรมการฯ จัดทำแนวทางการโอนย้ายผู้ใช้บริการและแนวทางป้องกันซิมดับ โดยยังไม่ต้องคำนึงถึงประเด็นข้อกฎหมาย อันเป็นที่มาให้คณะอนุกรรมการเสนอว่า เห็นควรให้มีการขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งอาจทำโดยบริษัท กสท จำกัด (มหาชน) หรือโดยเอกชนคู่สัมปทาน นี่จึงเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับที่ บมจ. กสท หรือ CAT เรียกร้องมาโดยตลอด และคราวนี้ยังเริ่มเปิดช่องเพิ่มไปถึงทรูมูฟด้วย
อย่างไรก็ดี กสทช. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ยืนยันว่าแนวทางดังกล่าวคือการทำผิดกฎหมายและจะไม่ส่งผลดีต่อผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง โดยจะเป็นเพียงการยืดเวลาของเหตุการณ์ซิมดับออกไป แต่เมื่อไรที่การจัดประมูลคลื่นเสร็จสิ้นและมีการอนุญาตใช้คลื่นความถี่และการอนุญาตประกอบกิจการแก่ผู้ชนะการประมูลแล้ว การให้บริการในระบบเดิมนั้นก็ต้องยุติลงอยู่ดี เนื่องจากสิทธิถือครองและใช้คลื่นความถี่ย่อมเป็นของผู้ชนะประมูลที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ ดังนั้นถึงอย่างไรก็ย่อมจะเกิดช่องว่างหรือภาวะซิมดับในช่วงเวลาระหว่างที่รอผู้ชนะการประมูลเตรียมการจัดสร้างโครงข่ายและระบบต่างๆ สำหรับบริการใหม่
“ผมบอกได้เลยว่า การอ้างเรื่องป้องกันซิมดับเป็นเรื่องหลอกลวง เพราะถึงอย่างไรซิมก็ต้องดับ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง การขยายเวลาจึงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรแก่ผู้บริโภค แต่แน่นอนว่าจะช่วยผู้ประกอบการให้หารายได้กันต่อไป ปัญหาก็คือในการขยายเวลาบริการก็เท่ากับการไปขยายเวลาการใช้คลื่นความถี่และขยายอายุการอนุญาต รวมทั้งขยายอายุสัมปทานด้วย ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องขัดกฎหมาย ขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่กำหนดให้กิจการโทรคมนาคมไทยต้องหลุดพ้นจากยุคสัมปทานเสียที” นายประวิทย์กล่าว
กสทช.ประวิทย์เปิดเผยด้วยว่า เกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมายนั้น ก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช. เองเคยชี้ชัดแล้วว่า เมื่อการอนุญาตหรือสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง สิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ก็ถือว่าสิ้นสุดลงด้วย และสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ย่อมต้องกลับคืนไปยังสาธารณะ โดย กสทช. หรือ กทค. มีหน้าที่ในการเข้าไปบริหารจัดการคลื่นความถี่ ทั้งนี้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 47 บัญญัติไว้
ส่วนกรณีการขยายระยะเวลา คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายชี้ว่า แม้ตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเดิมจะกำหนดให้ กทช. สามารถพิจารณาขยายระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ได้ แต่เมื่อมีการตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 แล้ว ซึ่งตามมาตรา 45 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมว่าให้กระทำได้ด้วยวิธีการประมูลเท่านั้ประกอบกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ไม่ได้มีการกำหนดให้ กสทช. สามารถพิจารณาขยายระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ได้ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงนโยบายที่จะไม่มีการพิจารณาขยายระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ ดังนั้น เมื่อระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่สิ้นสุดลง จึงไม่อาจพิจารณาขยายระยะเวลาในการใช้งานคลื่นความถี่ได้
“ผมจึงไม่อยากให้อ้างผู้บริโภคแล้วกำหนดมาตรการที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ แต่อยากให้เร่งดำเนินการตามหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมอันเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง ดังนั้น กทค. ต้องไม่ประวิงเวลาในการประมูลคลื่น 1800 อีกต่อไป แต่ต้องเร่งกระบวนการให้เสร็จสิ้นใกล้เคียงกำหนดสิ้นสุดสัมปทาน ซึ่ง ณ วันนี้เหลือประมาณครึ่งปีพอดี ถ้าเร่งทำก็ทำให้ทันได้ ด้วยวิธีนี้ซิมก็จะดับเพียงไม่นาน แล้วก็มีบริการใหม่บนคลื่นเดิมมาเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคต่อไป” กสทช. ประวิทย์กล่าวทิ้งท้าย

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดดขวางเอไอเอสเรียกเก็บค่ารักษาเลขหมายวันละบาท

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม จวกเอไอเอส ได้คืบจะเอาศอก ลุยเอาเปรียบผู้ใช้บริการพรีเพด หลังขอให้มีการกำหนดเวลาได้ ๓๐ วัน ยังไม่สมใจเดินหน้าต่อขอ กทค.อีก จะเก็บค่ารักษาเลขหมาย ๓๐ บาทต่อเดือนหากไม่ใช้บริการ อนุกรรมการฯระบุ เตรียมยกให้เป็นพฤติการณ์ตัวอย่างที่เข้าข่ายการเอาเปรียบผู้บริโภค ตามม. ๓๑ วรรค ๒

( ๑๑ มี.ค. ๕๖) รศ.ศิริศักดิ์ ศุภมนตรี อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมว่า ขณะนี้ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ได้มีหนังสือมายังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ขอความเห็นชอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด โดยบริษัทฯจะเก็บค่าบริหารจัดการเลขหมายในระบบ กรณีผู้ใช้บริการไม่มีการใช้บริการใดๆ ที่ต้องชำระค่าบริการให้แก่บริษัทฯ ภายในระยะเวลา ๓๐ วัน ติดต่อกัน ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ใช้บริการมีเงินคงเหลือในระบบ บริษัทฯ จะเก็บค่าบริหารจัดการเลขหมายในอัตราวันละ ๑ บาท จนกว่าจะมีการใช้บริการ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการจะถูกยกเลิกบริการจัดเก็บค่าบริหารจัดการเลขหมายเมื่อไม่มีจำนวนเงินเหลืออยู่และหลังจากนั้นบริษัทฯจะนำเลขหมายนั้นมาเข้าสู่กระบวนการจัดเก็บเพื่อเตรียมการจัดจำหน่ายต่อไป

รศ.ศิริศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมมีความเห็นร่วมกันว่า ขอเสนอดังกล่าวของบริษัท เอไอเอส อาจเข้าข่ายการค้ากำไรเกินควร และเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เพราะปัจจุบันบริษัทจ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายให้กับ กสทช. เพียง ๒ บาทต่อเดือน อีกทั้งจากราคาตลาดโดยเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการอีก ๒ ราย คือ บริษัท โทเทิ่ลแอดเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) คิดค่าบริการโดยให้ซื้อวันได้ราคา ๒ บาทต่อ๓๐ วัน ขณะที่ ทรูมูฟ จำกัด คิดค่าบริการโดยให้ซื้อวันได้ราคา ๓ บาทต่อ ๓๐ วัน รวมถึงในการใช้บริการโทรคมนาคมโดยปกตินั้น ย่อมมีทั้งบริการที่ผู้ใช้บริการต้องจ่ายค่าบริการและไม่เสียค่าบริการควบคู่กันไป เช่น การโทรออก-รับสาย การส่ง-รับ SMS แม้การใช้บริการที่ผู้บริโภคมิได้จ่ายเงินให้บริษัท เช่น การรับสายโทรเข้า บริษัทฯ ก็ยังได้ประโยชน์ คือ ได้รับค่าเชื่อมต่อโครงข่ายจากบริษัทผู้ให้บริการที่โทรเข้ามา ดังนั้น หากผู้บริโภคยังมีการใช้งาน แม้เป็นบริการที่ไม่ต้องชำระค่าบริการ บริษัทฯ ก็ไม่ควรที่จะคิดค่าบริหารจัดการเลขหมาย

“ ค่ายอื่น ๑ เดือน ๒ บาท อีกค่ายเก็บ ๑ เดือน ๓ บาท แสดงว่าต้นทุนจริงต่ำกว่านั้น ถ้าดูราคาตลาดก็รู้ว่า บริษัทอื่นให้บริการไม่เกิน ๓ บาทต่อเดือน แต่เอไอเอสคิดค่าบริการเท่ากับ ๓๐ บาท สูงกว่าบริษัทอื่นถึง ๑๐ เท่า เก็บสูงกว่าต้นทุนจริงมากขนาดนี้ เข้าข่ายเอาเปรียบผู้บริโภค เป็นการค้ากำไรเกินควร เมื่อต้นเดือนมกราคมบริษัทเพิ่งเสนอให้มีการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการพรีเพดไปแล้ว จากที่ไม่มีการกำหนดระยะเวลากลายเป็นเติมเงินเท่าไหร่ก็ใช้ได้ ๓๐ วัน ผ่านมาไม่ถึง ๒ เดือน ก็มาเสนอจะเรียกเก็บค่ารักษาเลขหมายเพิ่มเติมอีก และการจะอนุมัติเรื่องนี้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ข้อ ๑๔ ของประกาศอัตราขั้นสูงของค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๔๙ ดังนั้นคณะอนุกรรมการเชื่อว่า กทค.คงไม่เห็นชอบในข้อเสนอนี้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบกับผู้บริโภคจำนวนมาก “ รศ.ศิริศักดิ์กล่าว

รศ.ศิริศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อจัดทำ (ร่าง) การกระทำซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอยู่ และเห็นว่า ขอเสนอของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เข้าข่ายการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคด้วย ซึ่งคณะอนุกรรมการฯจะเร่งจัดทำ(ร่าง) ดังกล่าวเสนอต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมภายในเร็วๆนี้

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กสทช. เร่งสางปัญหาดาวเทียมไอพีสตาร์ของไทยคม ตั้งทีมตรวจข้อกฎหมาย หาแนวทางออกใบอนุญาตใน 30 วัน

ตื่นแล้ว! สำนักงาน กสทช. ตั้งคณะทำงานศึกษาการประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารไอพีสตาร์ ของบริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) กำหนดหาคำตอบแนวทางการอนุญาตประกอบกิจการใน 30 วัน สังคายนาปัญหาการเป็นดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทาน
​รายงานข่าวจากสำนักงาน กสทช. แจ้งว่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เลขาธิการ กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับกรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ (IP STAR) ของบริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสถานะของการประกอบกิจการที่ชัดเจน โดยจะพิจารณาทั้งในส่วนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่จะต้องดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการ เนื่องจากตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 กำหนดไว้ชัดเจนว่า กิจการโทรคมนาคมนั้นรวมถึงกิจการซึ่งให้บริการดาวเทียมสื่อสารด้วย ทำให้การให้บริการดาวเทียมสื่อสารในปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ซึ่งจะต้องมีการขออนุญาตประกอบกิจการ

​รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า การดำเนินการดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. เกิดขึ้นภายหลังจากที่นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน กสทช. และประธาน กสทช. แจ้งถึงกรณีปัญหาของเรื่องนี้ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยมีคำพิพากษาชี้ว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมที่อยู่นอกสัญญาสัมปทาน โดยไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 และไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารภายในประเทศตามวัตถุประสงค์ของสัญญาสัมปทาน ดังนั้นจึงเห็นควรมีการเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยมีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาก็คือ การให้บริการในปัจจุบันของไอพีสตาร์ที่ใช้วงโคจรของประเทศไทยถือเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายหรือไม่ และ กสทช. จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้บริษัทได้หรือไม่

​ทั้งนี้ ตามหนังสือของ กสทช. ประวิทย์ ระบุว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตัดสินกรณีดังกล่าวในคดีที่อัยการสูงสุดกล่าวหาพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และพวก ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 แต่ปรากฏว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน โดยใช้วงโคจรที่ 119.5 องศาตะวันออก และไม่เคยมีการยื่นขออนุญาตเข้ามาแต่อย่างใด

​กรณีนี้จึงเป็นอีกกรณีสำคัญที่จะต้องจับตาดูกันต่อไปว่า กสทช. จะตัดสินใจในแนวทางใดเพื่อแก้ปัญหาการให้บริการของไอพีสตาร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการพิจารณาในราวปลายเดือนมีนาคม เนื่องจากตามคำสั่งของเลขาธิการ กสทช. กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานของคณะทำงานไว้ 30 วัน

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประธาน สารี อ๋องสมหวัง แจงไม่ใช้ความขัดแย้งส่วนตัว แต่ต้องทำงานการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฯ แจงไม่มีความขัดแย้งส่วนตัว
แต่ต้องการเห็นประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

​“สารี” แจงเลขาธิการกสทช.และกทค.รู้ดี ว่า รท.ไม่สนับสนุนอนุกรรมการ ฯ แต่ยังไม่ดำเนินการใด ๆ ตั้งแต่กรกฎาคม ๒๕๕๕ พร้อมแจงไม่ใช่ความขัดแย้งเรื่องส่วนตัวหรือเกาเหลา แต่ต้องการให้ ผู้บริโภคที่ร้องเรียน ๓๔๕ เรื่องได้รับการคุ้มครอง และเกิดการแก้ปัญหาระดับนโยบายเช่น กรณีพรีเพด หวังว่า กทค.เร่งออกมติเยียวยาความเสียหายให้เปิดสัญญาณชั่วคราวกับผู้ร้องเรียน หากล่าช้าจะทำให้ผู้ร้องถูกตัดสัญญาณ ถูกยึดเงินและถูกยึดเบอร์ในที่สุด ​

​กรณีที่มีการอ้างแหล่งข่าวใน กสทช. ระบุว่าขณะนี้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารงานรับเรื่องร้องเรียนและประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม จนทำให้เลขาธิการนายฐากร แถลงข่าว ว่า กรณีข่าวดังกล่าว เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการรับเรื่องร้องเรียน และการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมของ กสทช. ตนเองจึงได้มีหนังสือให้นายพิชัย สุวรรณกิจบริหาร รักษาการผู้อำนวยการ กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมดมาที่ตนโดยด่วน และในขั้นตอนต่อไปหลังจากได้รับรายละเอียดข้อเท็จจริง ก็จะส่งให้ทางอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมเพื่อทราบรายละเอียดข้อเท็จจริงดังกล่าว และจะได้รวบรวมประเด็นข้อมูลเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อพิจารณาให้ได้ข้อสรุปต่อไป
​นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวใดๆ กับผู้บริหารงานกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม (รท) แต่เป็นปัญหาอันเนื่องมาจากการทำงานที่ล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการ ฯ ซึ่งเป็นปัญหากับอนุกรรมการ ฯ มานานและเลขาธิการกสทช. และกทค. ทราบดี เพราะอนุกรรมการ ฯ เคยไปพบหารือและเล่าเหตุการณ์ให้รับทราบมาโดยตลอด ตั้งแต่กรกฎาคม ๒๕๕๕ แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ และเลขาธิการเคยรับปากจะแก้ไขปัญหาให้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองผู้บริโภค อาทิเช่น
กรณีเรื่องร้องเรียนของอบต.หนองแสง และชาวบ้านจำนวน ๖๓ ราย ในพื้นที่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ร้องเรียนคัดค้านการติดตั้งสถานีฐานรับส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากบริษัท ไม่ได้ทำตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพ อนามัย ของประชาชน เพราะบริเวณที่ตั้งเสาอยู่ใกล้กับโรงเรียนวาปีปทุม และบริษัทมิได้ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ จึงขอให้ยกเลิกการให้อนุญาตติดตั้งสถานีฐานในพื้นที่ดังกล่าว ได้พบประเด็นที่ไม่สมควรปฏิบัติเกิดขึ้น คือ การสั่งยุติเรื่องร้องเรียนอย่างผิดปกติของ อรท. ทั้งที่กรณีนี้มีผู้ร้องเรียนจำนวนมาก และเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในพื้นที่ ทั้งที่จากผลการตรวจสอบพบว่า บริษัทฯ ยังไม่ได้รับอนุญาตให้มีการติดตั้งสถานีฯ และต่อมาเมื่อเรื่องอยู่ระหว่างการร้องเรียน กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนฯ ก็ได้รับหนังสือจากบุคคลอื่น เพื่อขอยกเลิกการแจ้งเรื่องร้องเรียนนี้ ทั้งที่หนังสือฉบับดังกล่าวได้ส่งถึง นายก อบต.หนองแสงมิใช่ส่งถึง สำนักงาน กสทช. และก็มิใช่ผู้ร้องเรียนเรื่องดังกล่าวในครั้งแรก อีกทั้งต่อมาได้มีการแจ้งผลการดำเนินการไปยังผู้ร้องว่าบริษัทไม่ได้รับอนุญาตในการติดตั้งสถานีฐานลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ แต่กลับใช้จดหมายของผู้คัดค้านลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ แจ้งบริษัทสรุปว่าเรื่องร้องเรียนยุติแล้ว ถือเป็นการยุติเรื่องร้องเรียนโดยไม่ชอบ ขัดต่อกฎหมาย เนื่องจากเป็นการอ้างอิงจากหนังสือของบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ร้องเรียน เมื่อผู้ร้องเรียนที่แท้จริงทราบเรื่อง จึงได้ดำเนินการคัดค้าน แต่ รท. กลับเปิดเป็นเรื่องร้องเรียนใหม่ทำให้ล่าช้า และเป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการได้ ทั้งที่เรื่องยังอยู่ระหว่างการร้องเรียน กรณีนี้ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหารงานกลุ่มรท. ด้วยกระบวนการที่ไม่ชอบ ล่าช้าผิดปกติ เป็นเหตุให้ผู้ร้องเรียนเสียหายทำให้บริษัทดำเนินการขออนุญาตในการติดตั้งสถานีฐานในพื้นที่ดังกล่าว
กรณีข้างต้น อนุกรรมการฯได้มีมติให้ไปจัดประชุมในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาเรื่องเสาสัญญาณที่อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนโดยอ้างว่า ไม่มีงบประมาณในการจัดประชุมเพื่อแก้ปัญหา แต่กลับมีการใช้งบประมาณของ รท. ในการไปดูงานต่างประเทศหลายครั้งในปีที่ผ่านมา ทั้งที่การไปดูงานนั้นไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจนแต่ประการใด เรื่องนี้อนุกรรมการ ฯ ทุกคนทราบดีว่าที่ผ่านมาสำนักงานรท.ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการฯแทบจะไม่ได้เข้าประชุมร่วมกับอนุกรรมการ ฯ เลยไม่มีการลาเป็นลายลักษณ์อักษร หายไปเฉยๆ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่กลับอ้างว่าอนุกรรมการฯไม่ใช่ผู้บริหารสำนักงาน ไม่ต้องปฏิบัติตาม ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ร้องเรียน กลไกและระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
หรือแม้แต่เรื่องประสานงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคก็ยังขาดประสิทธิภาพ เช่น การจัดส่งหนังสือจากสำนักงานเพื่อขอความร่วมมือกระทรวงไอซีทีให้มีการดำเนินการจัดการปัญหาเรื่องตู้เติมเงินโทรศัพท์ ก็พบว่า ใช้เวลาร่างหนังสือและจัดส่งหนังสือนานถึง ๖ เดือน เป็นต้น
​“ความล่าช้า ขาดประสิทธิภาพ ไม่คุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่ไปรษณีย์ทั้งที่มีกฎหมายและประกาศมากมาย และอาจจะเข้าข่ายไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานของผู้บริหารงานร้องเรียนนี้ อนุกรรมการฯ ทุกท่านทราบเป็นอย่างดี และได้แก้ปัญหาการทำงานของอนุกรรมการฯ โดยใช้การสื่อสารปัญหาร้องเรียนของผู้บริโภคต่อสาธารณะทุกครั้งที่มีการประชุม เพื่อให้ผู้บริโภคเท่าทันและจัดการปัญหาของตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น การแถลงข่าวเรื่องพรีเพด ซิมฟรี เป็นต้น
ที่ผ่านมาอนุกรรมการฯได้ทำบันทึกถึงเลขาธิการ และกทค. เป็นทางการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ เรื่องที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องเกาเหลาแต่เป็นเรื่องการไม่สนับสนุนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นปัญหาประสิทธิภาพในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคของสำนักงานในกิจการโทรคมนาคม และไม่ได้เป็นปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวแต่ประการใดหากจะเป็นเรื่องขัดแย้งก็เพราะเขาไม่ทำงานในหน้าที่ ไม่ให้ความใส่ใจกับการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว” นางสาวสารีกล่าว
​นางสาวสารี กล่าวด้วยว่า ในเรื่องการจัดการเรื่องร้องเรียนนั้น เมื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานของกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กับด้านโทรคมนาคมแล้ว จะเห็นว่าในช่วงปี ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ สามารถแก้ปัญหาได้สูงถึง ๘๒ เปอร์เซ็นต์ภายใน ๓๐ วัน ทั้งที่เป็นกลุ่มงานที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับงานกิจการด้านการกระจายเสียงฯ ขณะที่การจัดการเรื่องร้องเรียนด้านกิจการโทรคมนาคมมีผลดำเนินการตรงกันข้าม ทั้งที่มีกฎหมายในการใช้กำกับที่สมบูรณ์กว่า ซึ่งสะท้อนประสิทธิภาพของกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคมอย่างชัดเจน
​ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกล่าวต่อไปว่า กรณีเรื่องร้องเรียนจำนวน ๓๔๕ เรื่องซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ - มกราคม ๒๕๕๖ พบว่า เรื่องร้องเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องเรียนประเด็นเดิมและเป็นเรื่องที่มีการกระทำผิดกฎหมายชัดเจน เช่น การกำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า (พรีเพด) ซึ่งเป็นกรณีร้องเรียนที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่า บริษัทมีการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการ ตัดสัญญาณโทรศัพท์ผู้ร้อง แถมยังยึดเงินในระบบและยึดเลขหมายโทรศัพท์ไปด้วย ซึ่งในจำนวนเรื่องร้องเรียนเหล่านี้มีเกือบ ๓๐๐ เรื่องที่เป็นเรื่องเร่งด่วนและหาก รท. ไม่เร่งดำเนินการแก้ไขก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ร้อง เช่น ผู้ร้องอาจถูกตัดสัญญาณหมายเลขโทรศัพท์ หรือถูกยึดเลขหมายโทรศัพท์ไป ดังนั้น อนุกรรมการฯ จึงได้รวบรวมเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีพรีเพดทั้งหมดเสนอให้ กทค. พิจารณา เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ร้องเรียน เพื่อขอให้ กทค. มีคำสั่งให้เยียวยาความเสียหายให้กับผู้ร้อง โดยให้บริษัทเปิดสัญญาณให้ผู้ร้องสามารถใช้บริการได้ตามปกติ จนกว่าเรื่องร้องเรียนจะได้รับการแก้ไขปัญหา
​“คณะอนุกรรมการฯต้องการขอให้มีการเร่งนำเรื่องขึ้นพิจารณาเพื่อเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ร้องเรียนก่อนโดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณการใช้บริการ มิฉะนั้นผู้ร้องจะถูกบริษัทตัดสัญญาณได้ ซึ่งกทค. ควรมีมติ เช่น ที่ประชุม กทช. เคยมีไว้เมื่อการประชุม ครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๒ ที่มีมติเห็นชอบเป็นหลักการให้ถือเป็นแนวปฏิบัติต่อจากนี้ไปว่า หากเรื่องร้องเรียนได้เข้าสู่กระบวนการร้องเรียนตามประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการแล้ว ให้ผู้ให้บริการเปิดสัญญาณโทรศัพท์ให้แก่ผู้รับบริการ เพื่อเยียวยาความเสียหายเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ข้อยุติในเรื่องร้องเรียนนั้น ส่วนปัญหาความขัดแย้งกับผู้บริหารบางคนในกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน หากจะมีก็เป็นเรื่องงาน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว “ นางสาวสารีกล่าว
ส่วนประเด็นที่มีการกล่าวว่าคณะอนุกรรมการฯเร่งพิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยไม่ได้สอบข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน ทั้งจากผู้บริโภคและผู้ประกอบการ นางสาวสารีกล่าวว่า กระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนนั้นกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน ดังนั้น เมื่อมีการนำเรื่องร้องเรียนเสนอให้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ จึงต้องมีการเร่งพิจารณาเพื่อให้สำนักงาน กสทช. ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของ กทค. โดยเร็ว และตามขั้นตอนการทำงานนั้น สำนักงานฯ ได้ทำเรื่องแจ้งให้บริษัทที่ถูกร้องเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงเข้ามาถึง ๒ ครั้ง โดยครั้งแรกจะให้เวลาบริษัทในการสืบค้นข้อมูล ๑๕ วันทำการ หากยังไม่มีการชี้แจงเข้ามาจะส่งหนังสือทวงถามในครั้งที่ ๒ โดยให้เวลาอีก ๗ วันทำการ
​“เมื่อเทียบกับกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนที่กฎหมายกำหนดไว้ที่ ๓๐ วัน จำนวน ๒๔ วันทำการที่ให้เวลาแก่บริษัทชี้แจงก็ถือว่าสมเหตุสมผลแล้วและน่าจะเพียงพอต่อการสืบค้นข้อมูลของบริษัทเนื่องจากบริษัทเป็นผู้กุมข้อมูลทั้งหมดไว้ และการจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีเงื่อนเวลาเป็นตัวกำหนดเช่นนี้หากไม่เร่งดำเนินการ สำนักงานฯ ก็อาจโดนผู้ร้องกล่าวหาเรื่องการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ มาตรา ๑๕๗ ในประมวลกฎหมายอาญาได้”
​เรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค ที่เข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมนั้น ได้ดำเนินการตาม ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ และกฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง โดยทุกเรื่องจะมีการแจ้งให้บริษัทที่ถูกร้องเรียนทราบถึงปัญหาที่เป็นเหตุของการร้องเรียน คำขอที่ผู้ร้องเรียนต้องการให้บริษัทดำเนินการแก้ไข และกำหนดระยะเวลาที่ขอให้บริษัทชี้แจง รายงานผลภายใน ๑๕ วัน ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายปกครอง ที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสโต้แย้ง แสดงพยานหลักฐานของตนได้ และหากบริษัทยังเพิกเฉยไม่ชี้แจง ดำเนินการ ก็จะมีหนังสือติดตามทวงถาม พร้อมกับให้เวลาอีก ๗ วัน หากบริษัทยังคงนิ่งเฉยไม่ชี้แจงอีก ก็จำเป็นจะต้องดำเนินการตามกฎหมายเรื่องกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่อไป นั่นก็คือ การเสนอเรื่องเป็นวาระให้ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม พิจารณาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนของ กทค. ต่อไป เนื่องจาก กฎหมายได้กำหนดระยะเวลาให้ กทค.ต้องพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่สำนักงาน กสทช. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค หากดำเนินการล่าช้า กทค. เลขาธิการ กสทช. หรือพนักงานของสำนักงาน กสทช. ที่ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็จะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียน ตามพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๓๐
​เรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ซึ่ง คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นไปแล้ว หลายกรณี เป็นเรื่องที่มีผลกระทบโดยตรงต่อ ผู้ร้องเรียน เช่น การยกเลิกบริการ หรือ ระงับบริการในระหว่างที่มีเรื่องร้องเรียน ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า กทค. ควรสั่งให้บริษัทดำเนินการเปิดสัญญาณให้ผู้ร้องเรียนสามารถใช้บริการได้ตามปกติ จนกว่าเรื่องร้องเรียนจะได้รับการพิจารณาแล้วเสร็จ เพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียนเป็นการชั่วคราว แทนที่ผู้บริหารกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน จะรีบดำเนินการส่งต่อเรื่องให้ กทค.พิจารณาวินิจฉัย เพื่อให้ผู้ร้องเรียนได้รับการเยียวยาโดยเร็ว กลับดึง หรือดองเรื่องร้องเรียนไว้ไม่ดำเนินการต่อ ดังนั้น หากผู้ร้องเรียนรายใด ได้รับความเสียหายจากการดำเนินการล่าช้า ก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสำนักงาน กสทช. ได้ตามกฎหมาย

​ส่วนเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่ามีการเร่งทำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาเพื่อต้องการสร้างความเสียหายให้กับ กทค.นั้น ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ เผยว่า ตั้งแต่เดือนม.ค.๕๕-ต.ค.๕๕ มีเรื่องร้องเรียนเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ น้อยมาก จำนวนไม่ถึง ๑๐ เรื่อง จนถูกผู้ร้องร้องเรียนไปถึง กสทช. เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหานั้นขาดประสิทธิภาพ จึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนทีมงานใหม่เข้ามารับผิดชอบในการจัดการเรื่องร้องเรียนในช่วงปลายปี ๒๕๕๕ จนถึง ก.พ. ๒๕๕๖ ที่มีทีมงานใหม่เข้ามาทำเรื่องร้องเรียน มีเรื่องเข้าสู่การพิจาณาของอนุกรรมการฯ ๓๔๕ เรื่อง แต่พบว่า เรื่องที่อนุกรรมการฯ เร่งพิจารณาเหล่านั้นกลับไม่ถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของ กทค. เลย เนื่องจากผู้บริหารของงานร้องเรียนไม่ยอมลงนามในบันทึกเสนอเรื่องให้ที่ประชุม กทค. พิจารณา นางสาวสารีกล่าว​

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผู้บริโภคพรีเพดถูกบริษัทมั่วนิ่มหักค่าบริการเสริมโดยไม่ได้สมัครใช้มานาน ๕ ปี ร้องเรียน กสทช. ช่วยเหลือขอเงินคืน ประธานอนุกรรมการฯห่วงผู้บริโภครายอื่นแนะควรตรวจสอบการสมัครบริการเสิรมกับเครือข่าย เพื่อยกเลิกบริการและขอเงินคืน เสนอ กสทช. ถือเป็นพฤติกรรมเข้าข่าย ม.๓๑ เอาเปรียบผู้บริโภค ที่ควรดำเนินการอย่างจริงจัง พร้อมเสนอ


นางสาวสารี อ๋องสมหวัง  ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ยังได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนกรณีที่ถูกคิดค่าบริการเสริมรับข้อมูลประเภทข่าว ดูดวงผ่านข้อความสั้น (SMS) โดยที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ โดยมีผู้ร้องเรียนรายหนึ่งใช้บริการโทรศัพท์ระบบเติมเงินระบุว่า ถูกคิดค่าบริการเสริมจากข้อความ เอ็มเอ็มเอสมากว่า ๕ ปีแล้ว โดยที่ไม่เคยสมัครใช้บริการ เหตุที่ทราบเพราะผู้ร้องตรวจสอบกับศูนย์บริการจากนั้นจึงขอยกเลิกและขอเงินคืน โดยบริษัทแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่า มีการสมัครรายการเสริมนี้มาตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๐ ซึ่งเท่ากับผู้ร้องถูกหักค่าบริการโดยไม่รู้ตัวมากว่า ๕ ปี ทั้งที่ไม่เคยสมัครและใช้ไม่เป็น

            “ การใช้บริการโทรศัพท์ประเภทเติมเงินมีจุดอ่อนตรงที่ผู้ใช้จะไม่ทราบรายละเอียดการหักค่าบริการของบริษัท เนื่องจากไม่มีใบแจ้งหนี้ เมื่อมีการส่งเอ็มเอ็มเอสมาก็คิดว่าเป็นสแปมธรรมดา ทั้งที่ถูกคิดค่าบริการมาตลอด ๕ ปี ขณะนี้ผู้ร้องบางรายเห็นวิธีการหาเงินเช่นนี้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนซึ่งเดือดร้อนกับภาวะเศรษฐกิจอยู่แล้ว กลับต้องมาเสียเปรียบในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงินอีกจำนวนมากที่ถูกหักค่าบริการเสริมโดยที่ตัวเองไม่ทราบ จึงควรตรวจสอบกับผู้ให้บริการว่าได้สมัครบริการเสริมอะไรหรือไม่ตั้งแต่เมื่อไหร่ หากไม่ได้สมัครจะได้แจ้งยกเลิกและให้คืนเงินที่ถูกหักไปทั้งที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ” นางสาวสารีกล่าว            ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมจะได้พิจารณาข้อร้องเรียนนี้แล้วมีความเห็นว่า เมื่อผู้บริโภคไม่ได้สมัครใช้บริการ บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมไม่มีสิทธิคิดค่าบริการเสริม บริษัทจึงต้องคืนเงินค่าบริการเสิรมให้กับผู้ร้องและต้องชำระดอกเบี้ยส่วนต่างในอัตราเท่ากับที่บริษัทกำหนดว่าจะเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการในกรณีที่ผู้ใช้บริการผิดนัดชำระหนี้  อีกทั้งเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ และเข้าข่ายเป็นการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ๒๕๕๓ และเป็นอำนาจของ กสทช.ในการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค และมีอำนาจในการสั่งระงับการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวได้ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาบริการเสริมข้อมูลข่าวสารผ่าน เอสเอ็มเอ็สได้

ประธานอนุคุ้มครองผู้บริโภคฯ เรียกร้อง กทค.พิจารณากำหนดระยะเวลาพรีเพด อย่าสร้างภาระผู้บริโภค ต้องเติมเงินทุกเดือน พร้อมเสนอหากมีเงินของตัวเหลืออยู่ในระบบต้องสามารถ ใช้บริการได้



(28 ม.ค. 56) 
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง 
ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
เปิดเผยว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ กสทช. โดยเฉพาะสำนักงาน กสทช. ที่พยายามผลักดันงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับปัญหาเรื่อง การกำหนดระยะเวลาโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า หรือการกำหนดระยะเวลาการใช้โทรศัพท์ระบบเติมเงินนั้น แม้ว่าขณะนี้สำนักงาน กสทช. จะได้มีคำสั่ง จนทำให้เอไอเอสและทรูมูฟ ยุติการกำหนดระยะการใช้บริการจนกว่าการพิจารณาเพื่อให้มีการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เติมเงินจะแล้วเสร็จ นั้น ซึ่งเรื่องจะเข้าสู่การพิจารณาของ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เนื่องจากตามประกาศ มาตรฐานของสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๑๑ ระบุว่า ห้ามโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทชำระค่าบริการล่วงหน้ากำหนดระยะเวลาการใช้บริการ ยกเว้นได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการ ซึ่งหมายถึง กทค.  ซึ่งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งเอไอเอสและทรูมูฟ ได้ยื่นข้อเสนอแล้วว่า ให้ผู้ใช้บริการเติมเงินทุกมูลค่า จะสามารถใช้บริการได้ไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
   “ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีวาระที่มีการนำเข้าพิจารณาใน กทค. โดยมีความพยายามที่จะอนุมัติตามที่ผู้ให้บริการเสนอคือ เติมเงินเท่าไหร่อยู่ได้เพียง  30 วัน ซึ่งเป็นภาระกับผู้บริโภคอีกเช่นเดิม เพราะต้องคอยเติมเงินเข้าสู่ระบบทุกเดือน อย่างไรก็ตามข้อเสนอดังกล่าวได้ถูกคัดค้านจาก กสทช.เสียงข้างน้อย เพราะจากความพยายามในการหารือกับบริษัทมาหลายครั้ง เช่น ปีที่แล้วซึ่งได้เชิญผู้ประกอบการมาหารือ บริษัทได้เคยเสนอจำนวนวันที่ ๖๐
วัน และมีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดแต่ไม่ได้รับการอนุมัติ แต่หากการเสนอครั้งนี้แล้วที่ประชุมจึงรีบเห็นชอบ ก็จะถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่ายได้  สำหรับที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ นั้นเห็นว่า เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับผู้บริโภค หากผู้ใช้บริการยังมีเงินเหลืออยู่ในระบบต้องสามารถใช้บริการได้ คงต้องขอให้ประชาชนช่วยพิจารณาด้วยว่า การอนุมัติของ กทค.ครั้งนี้จะยืนอยู่ข้างใคร” นางสาวสารีกล่าว

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีของการหมดอายุสัญญาสัมทานคลื่น 1800 ของ TRUE และ DCP



 ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ในฐานะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีของการหมดอายุสัญญาสัมทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ควรปฏิบัติดังนี้

1.  กสทช. ต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าบริการของทั้งสองบริษัทจะสิ้นสุดลงภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 อย่างเร่งด่วนเนื่องจากมีเวลาเหลืออีกเพียง 8 เดือน และ ดำเนินการผู้บริโภคสามารถเลือกโอนย้ายค่ามือถือตามความประสงค์
2. กสทช. ต้องมีมาตรการในการโอนย้ายลูกค้าที่ต้องการรักษาเลขหมายเดิม (number portability) โดยดำเนินการให้ผู้ประกอบการเพิ่มขีดวามสามารถของบริการโอนย้ายเลขหมายให้เพิ่มจากในปัจจุบันที่           4000     เลขหมายต่อวันเป็น   40,000 เลขหมายต่อวันตามศักยภาพของ clearing house  เพื่อรองรับจำนวนลูกคาชอง True กว่า 17 ล้านรายที่จะได้รับผลกระทบจากการโอนย้าย (หากโอนย้ายได้วันละ 40,000 เลขหมายจะยังคงใช้เวลา 425 วัน)
3. ผู้ประกอบการต้องดำเนินการตรวจสอบรายชื่อผู้ใช้บริการที่ไม่ ได้ลงทะเบียนทาง SMS เพื่อแจ้งใหใทราบและให้แสดงเจตจำนงค์ในการย้ายเครือข่าย
4.  ผู้ประกอบการต้องระงับและปรับ package ที่ผูกพันหลักการสิ้นสุดสัญญาโดย กสทช. ให้ความเห็นชอบ  มิฉะนั้นแล้ว จะต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรายใหม่จะต้องรับผิดชอบ package โดยต้องเจรจาร่วมกับ ผู้ประกอบการรายเดิมเรื่องการโอนย้ายรายได้
5.  กสทช. จะต้องออกประกาศ หลักการในการโอนย้ายผู้ใช้บริการ (migration rules) อย่างเร่งด่วน ซึ่งจะกำหนดแผนงานในการดำเนินการของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อ ง เพื่อมิให้เกิดปัญหา จอดำในวันที่ 16 กันยายน 2556 แผนดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดดังนี้
5.1.   หลักการในการโอนย้ายผู้ใช้บริการที่ไม่เลือกปฏิบัติ
5.2.   หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง
5.3.   แผนการรองรับการโอนย้ายที่มีขั้นตอนและระยะเวลาที่ชัดเจน  เช่น ประกาศกำหนดวันที่ผู้ประกอบการจะหยุดให้บริการ การแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ  
5.4.   วิธีการดำเนินการสำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการย้าย (non order disconnection or transfer)
5.5.   วิธีการโอนเงินคงค้างในระบบให้แก่ผู้ประกอบการรายใหม่
     5.6.  แนวทางในการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการโอนย้าย (มีผู้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีระบบรองรับ)

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมมในยุค 3 และ 4 G


          

 นางสาวเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ อนุกรรมการคุ้มครองผุ้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า

                 1. แนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมทั่วไปมี 2 แนวทาง คือ การส่งเสริมการแข่งขันในตลาด และ การกำกับดูแลคุณภาพและอัตราค่าบริการในกรณีที่ตลาดไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควร   ที่ผ่านมา กสทช. ได้ละเลยมาตรการในการส่งเสริมการแข่งขันในตลาดโดยสิ้นเชิงทำให้ตลาดโทรคมนาคมไทยเป็นตลาดที่มีการแข่งขันที่จำกัด เช่น ในกรณีของโทรศัพท์มือถือ ก็มีเพียงสามรายเป็นต้น การประมูล 3G ที่ผ่านมา ก็ไม่มีรายใหม่เข้ามาแต่อย่างใด
      2. การที่จะช่วยส่งเสริมการแข่ขันได้แก่ มาตรการในการกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อ (IC Charge) ที่สอดคล้องกับต้นทุน มาตรการในการส่งเสริมการเชื่อมต่อโครงข่าย (interconnection) การเช่าใช้โครงข่าย (infrastructure sharing) การทำโรมมิ่ง (roaming)    ตลอดจนมาตรการในการส่งเสริมผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง MVNO  แต่ประกาศเหล่านี้ ซึ่งควรที่จะออกมา ก่อนที่จะมีการประมูล 3G กลับถูกละเลยจวบจนกระทั่งในปัจจุบัน  การขาดกฎ กติกาเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่มีโครงข่ายอยู่เดิมสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายเก่าได้เลย  เพราะจะไม่สามารถติดตั้งโครงข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ได้ตามข้อกำหนดในการประมูลได้เลย
        3. เมื่อตลาดไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควร ผู้บริโภคจึงต้องรับภาระอัตราค่าบริการที่สูงเกินควร  เช่น ภาระในการจ่ายค่าเชื่อมต่อโครงข่ายที่สูงถึง 1 บาทต่อนาทีในกรณีที่โทรนอกโครงข่าย  และ เงื่อนไขในการใช้บริการที่ไม่เป็นธรรม เช่น การกำหนดอายุ SIM ตามอำเภอใจ และการยึดเงินที่เหลือในบัตร ฯลฯ ที่ผ่านมา กสทช. ก็ม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แต่อย่างใด  ล่าสุดที่มาการประกาศอัตราค่าบริการสูงสุดเฉลี่ย 99 สตางค์ต่อนาทีก็เช่นกัน ก็ไม่มีผลแต่อย่างใด  ผู้ประกอบการยังมีการกำหนดอัตราค่าบริการที่เกิดอัตราเพดานดังกล่าวแม้กฎ ระเบียบดังกล่าวได้เริ่มใช้แล้วสำหรับทุก package ตั้งแต่เดือน มกราคม 2556
         4. อนึ่ง  การกำหนดราคาขายปลีกที่นาทีละไม่เกิน 99 สตางต์ ซึ่งเป็นอัตราที่ ต่ำกว่าอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายที่นาทีละ 1 บาทเป็นการส่งเสริมการผูกขาดในตลาดโทรคมนาคมไทยอย่างชัดเจน  เนื่องจากผู้ประกอบการที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง 3 รายเท่านั้นที่จะสามารถอยู่รอดได้ เพราะ MVNO และรายใหม่ที่อาจเข้ามาในตลาดที่ยังมีไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองต้องเสียค่าเชื่อมต่อที่สูงกว่าราคาที่สามารถเรียกเก็บจากผู้บริโภคจึงไม่สามารถอยู่รอดในเชิงพาณิชย์ได้
        5. ดังนั้น  เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าบริการที่อัตราเพดานจะเกิดขึ้นได้จริง กสทช. จะต้องดำเนินการการลดค่า IC อย่างเร่งด่วน  เช่น  เมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 DTAC มีโปรโมชั่น ซิมรับสาย รับทรัพย์โดยลูกค้า DTAC จะได้รับค่าโทรฟรีนาทีละ 50 สตางค์จากการรับสายจากเบอร์นอกเครือข่าย (เฉพาะจาก AIS DPC และ True Move ที่มีค่าเชื่อมต่อนาทีละ 1 บาท)  โดยกำหนดให้เลขหมายแต่ละเลขหมายสามารถรับเงินสูงสุดได้  2,000 บาทต่อเดือน   ทำให้มีผู้ใช้บริการที่ฉลาดบางรายสมัครโปรโมชั่นโทรไม่จำกัดจาก AIS เพื่อโทรเข้าเบอร์ของตนเองที่ DTAC เพื่อที่จะได้รับเงิน 50 สตางค์ทุกครั้งที่มีการโทรเข้าจากเครือข่าย AIS มายังเครือข่าย DTAC  ที่สมัครโปรโมชั่นดังกล่าวไว้จำนวนหลายเบอร์ทำให้สามารถสร้างรายได้เดือนละหลายพันบาท  ในขณะที่ผู้ให้บริการต้นทาง (คือ AIS) ต้องเสียค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (ที่สูงเกินควร) ให้แก่ DTAC เป็นวงเงินนับหมื่นกว่าบาทต่อเดือนตามจำนวนนาทีที่โทรออก  การที่ DTAC ออกโปรโมชั่นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าอัตราค่าเชื่อมต่อที่แม้จริงต่ำกว่า 50 สตางค์  เพราะแม้จะแบ่งรายได้ค่าเชื่อมต่อให้แก่ลูกค้าของตนเองครึ่งหนึ่ง คือ 50 สตางค์แล้ว  ก็ยังมีกำไร  ดังนั้น การที่ กสทช. จะกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อที่ 45 สตางค์นั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ดีและควรเร่งคับใช้อย่างเร่งด่วน  แต่ควรชี้แจงว่าเหตุใดไม่ใช่ 25 สตางค์ที่ปรึกษาของ กสทช. เคยเสนอแนะในอดีต และที่ อ. สมเกียรติเคยศึกษามาที่ 27 สตางต์ จะต้องมีการชี้แจงที่มาที่ไปที่ชัดเจน
         6. คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า  กสทช. ควรส่งเสริมให้มีการแข่งขันในตลาดเพื่อให้ผู้บริการขวนขวายในการให้บริการที่ดีและหลากหลายแก่ผู้บริโภคแทนการกำหนดมาตรการในการกำกับดูแลที่ไร้ประสิทธิผลดังที่ผ่านมา  โดยการลดค่า IC ให้ต่ำกว่าเดิม และการออกประกาศทั้ง 3 ฉบับ คือ ประกาศว่าด้วยการเช่าใช้โครงข่าย (infrastructure sharing) การทำโรมมิ่ง และ การประกอบธุรกิจของ MVNO อย่างเร่งด่วน  เพื่อที่จะลดอำนาผูกขาดของผู้ประกอบการในปัจจุบัน